กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12612
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายไทเก็กต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลพนัสนิคมจังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors relted to the knowledge of occuptionl helth nd sfety lw mong the dministrtors in the smll enterprises in chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กาญจนา พิบูลย์ ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ นัยรัตน์ ครองชนม์ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง -- ผู้ป่วย มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสร้างเสริมสุขภาพ Health Sciences ปอดอุดกั้น -- ผู้ป่วย การออกกำลังกาย |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการออกกำลังกายไทเก็กต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายและสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีความรุนแรงของโรคระดับ 1 และ2 จำนวน 70 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการออกกำลังกายไทเก็กเป็นระยะเวลา 10 สัปดาห์กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์อาการและอาการแสดงของโรคทางเดินหายใจ แบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายแบบสัมภาษณ์ ความคาดหวังผลดีจากการออกกำลังกาย แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการออกกำลังกาย ตรวจสมรรถภาพปอดด้วยเครื่องสไปโรมิเตอร์และ Wright peak flow meter วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated measure anova) วิเคราะห์ความแตกต่างของสัดส่วนด้วยการทดสอบความน่าจะเป็นแบบเอกแซกต์ (Exact probability test) และวิเคราะห์ค่าโอกาสสัมพัทธ์ด้วยสถิติถดถอยพหุแบบลอจิสติก (Multiple logistic regression) ผลการวิจัยพบว่า 1. ระยะติดตามผลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกาย คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการออกกำลังกาย คะแนนเฉลี่ยอาการและอาการแสดงของโรคทางเดินหายใจ ดีกว่าระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะก่อนทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.01 2. ระยะติดตามผลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของ FEV1, FVC และ PEF ดีกว่าระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.01 3. ระยะหลังการทดลองเสร็จสิ้นทันทีและระยะติดตามผลผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง กลุ่มทดลองมีสัดส่วนคะแนนการรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายและสัดส่วนคะแนนพฤติกรรมการออกกำลังกายดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.01 4. โอกาสสัมพัทธ์ของการไม่มีอาการและอาการแสดงของโรคทางเดินหายใจในกลุ่ม ทดลอง หลังควบคุมความแตกต่างของเพศ อายุ การสูบบุหรี่ และระยะเวลาการเจ็บป่วยพบว่า ระยะ ติดตามผลการออกกำลังกายไทเก็กสามารถลดโอกาสการเกิดเสมหะในปอด มีความมั่นใจที่จะ ออกไปใช้ชีวิตนอกบ้านไม่รู้สึกเหนื่อยล้าและอ่อนเพลีย (OR = 5.82, CI = 1.86-18.22, OR = 10.81, CI = 2.14-54.46, OR = 4.05, CI =1.39-11.81) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p<0.05) จากผลการศึกษาพบว่า การออกกำลังกายด้วยไทเก็ก สามารถคงสมรรถภาพปอดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติและช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังได้ ดังนั้นการออกกำลังกายด้วยไทเก็กจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ผู้ให้บริการสามารถนำไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทั้งในสถานบริการพยาบาลและในชุมชนได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12612 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.83 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น