กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12610
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองต่อดัชนีมวลกายของประชาชนที่มีน้ำหนักเกินในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The results of the weight-control progrm on pplying the concept of self-regultion towrds body mss index of people with overweight in bothong district, chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ยุวดี รอดจากภัย
กมลมาลย์ วิรัตน์เศรษฐสิน
ภาฤดี พันธุ์พรม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: การควบคุมน้ำหนัก
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
Health Sciences
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: คนที่มีน้ำหนักเกินเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดตามมา โดยเฉพาะประชาชนวัยทำงานอายุ 35-60 ปี มีความเสี่ยง 7-20% การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองต่อดัชนีมวลกายของประชาชนที่มีน้ำหนักเกิน กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชน อายุ 35-60 ปี 60 คน ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 23 กก/ม² ขึ้นไป ซึ่งสุ่มตำบลละ 30 คน จำนวน 2 ตำบลในอำเภอบ่อทอง จังหวัดชลบุรีและสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยการจับสลากข้อมูลเก็บด้วยแบบสอบถามส่งให้ตอบในห้องทดลองและห้องประชุมก่อนและหลังการทดลอง ส่วนวัดความ คาดหวังในผลลัพธ์พฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมการออกกำลังกาย มีความเที่ยงค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา 0.96, 0.77 และ 0.96 ตามลำดับ ประชาชนกลุ่มทดลองให้โปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองตามแนวคิดของซิมเมอร์แมน เป็นเวลา 9 สัปดาห์ ๆ ละ 1 ครั้ง ๆ ละ 50 นาทีดำเนินกิจกรรมโดยผู้วิจัยและผู้ช่วยสอน สำหรับประชาชนกลุ่ม เปรียบเทียบดำเนินชีวิตตามปกติข้อมูลวิเคราะห์ด้วยร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองความคาดหวังในผลลัพธ์ พฤติกรรมการบริโภค และพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ (p<0.001) และมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่าของประชาชนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญที่ (p<0.001) และดัชนีมวลกายของประชาชนกลุ่มทดลองลดลงเหลือน้อยกว่าก่อนทดลองและลดลงเหลือน้อยกว่าประชาชนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญที่ (p=0.05) แสดงว่าโปรแกรมควบคุมน้ำหนักที่ประยุกต์แนวคิดการกำกับตนเองที่สร้างขึ้นผลดีมีส่วนทำให้ประชาชนที่มีน้ำหนักเกินมีดัชนีมวลกายลดลง ฉะนั้นจึงควรสนับสนุนให้นักวิชาการสาธารณสุขและผู้เกี่ยวข้องได้นำโปรแกรมนี้ไปใช้
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ส.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12610
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdf1.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น