กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12605
ชื่อเรื่อง: | ผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชของผู้จำหน่ายผัก อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Effect of protective prctice progrm on pesticides hzrds mong vegetble seller, khochmo distrct, ryong province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุวดี รอดจากภัย นิภา มหารัชพงศ์ ศันสนีย์ แก้วดวงเล็ก มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
คำสำคัญ: | Science and Technology มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย สารเคมีทางการเกษตร สารกำจัดศัตรูพืช อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ ยากำจัดวัชพืช เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในผู้จำหน่ายผัก ได้แก่ ความรู้ แรงจูงใจป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช โดยนำทฤษฏีแรงจูงใจป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมมาสร้างโปรแกรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้จำหน่ายผัก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน กลุ่มเปรียบเทียบ 28 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชใช้ระยะเวลาในการวิจัยทั้งหมด 8 สัปดาห์ประกอบด้วย 6 กิจกรรม ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบไม่ได้รับโปรแกรมเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรู้ แรงจูงใจป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากสารเคมี กำจัดศัตรูพืช วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลสำเร็จรูปทางสถิติ ได้แก่ แจกแจง ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองใช้สถิติ Paired t-test และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบใช้สถิติ Independent t-test ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มทดลองหลังการทดลองและหลังติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ย ความรู้ แรงจูงใจป้องกันโรค แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) และหลังติดตามผลมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากหลังการทดลองแต่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบ พบว่า หลังการทดลองและหลังติดตามผล กลุ่มทดลองมีผลต่าง คะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) โดยสรุป โปรแกรมที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจป้องกันโรคร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมทำให้ผู้จำหน่ายผักปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูที่ปนเปื้อนในผักดีขึ้น ดังนั้นสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้จำหน่ายผักในพื้นที่อื่นหรือเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ ได้ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- มหาวิทยาลัยบูรพา, 2559 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/12605 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น