กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1257
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาระบบการบำรุงรักษาโดยพิจารณาความน่าเชื่อถือของเครื่องจักรเป็นสำคัญ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of the reliability-centered maintenance system on machinery
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทร์ฑา นาควชิระตระกูล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
เครื่องจักร - - การบำรุงรักษา
วันที่เผยแพร่: 2549
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การบำรุงรักษาโดยพิจารณาความน่าเชื่อถือเป็นสำคัญ (Reliability-centered Maintenance: RCM) เป็นกระบวนการที่ใช้ในการประเมินระบบเพื่อกำหนดนโนยบายหรือกลยุทธ์สำหรับการจัดการสินทรัพย์ทางกายภาพ (Physical Asset) และกำหนดแนวทางการบำรุงรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นความบรรลุระดับของความน่าเชื่อถือของระบบอย่างเป็นระบบ และการพิจารณาเพื่อลดหรือขจัดงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันที่เกิดความจำเป็นด้วยเทคนิคการจัดการความขัดข้องของเครื่องจักร อันประกอบด้วย การปฏิบัติเชิงรุก (Proactive task) และการกำหนดมาตรการปฏิบัติการ (Default action) งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้ระบบ RCM กับระบบทำความเย็นแบบ Contact Plate freezer ของโรงงานอุตสาหกรรมผลิตอาหารทะเลแช่แข็งแห่งหนึ่งซึ่งพบว่ามีความขัดข้องของเครื่องจักรสูงมากอันเนื่องมาจากปัญหาการออกแบบระบบบำรุงรักษาที่ขาดประสิทธิภาพ โดยจะเห็นได้จากแผนบำรุงรักษามีเพียงกำหนดรายสัปดาห์ ให้มีการตรวจเช็คสภาพทั่วไป และทำความสะอาดในบางส่วนของเครื่องจักรตามเวลาที่กำหนดนั้น โดยที่แผนการบำรุงรักษาฉบับนี้ได้ถูกออกแบบให้ใช้มาเป็นระยะเวลาประมาณ 10 โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้ไม่สามารถคาดการณ์ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในปัจจุบันได้ เมื่อเกิดความล้มเหลวจนระบบหยุดทำงานจึงทราบ ทำให้ระบบทำความเย็นต้องหยุดการทำงานซึ่งส่งผลกระทบต่อโรงงงานอย่างมาก นอกจากนี้เมื่อพิจารณาในรายละเอียดของแผนการบำรุงรักษาพบว่ามีแต่แผนตรวจสอบและทำความสะอาด ซึ่งพบว่านอกจากจะไม่ครอบคลุมงานซ่อมบำรุงที่จำเป็นและมีความถี่ไม่เหมาะสมแล้ว ยังพบว่างานที่ไม่มีความจำเป็นหรืองานที่มีความถี่มากเกินความจำเป็นที่ร่วมรายการตรวจสภาพทั่วไป การทำความสะอาดอุปกรณ์และพื้นที่ การปรับตั้งและการตรวจวัดทางไฟฟ้า มีสูงถึง 7,696 งานต่อปี จึงได้ทำการศึกษาระบบและดำเนินขั้นตอนการพัฒนาระบบบำรุงรักษาแบบ RCM ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ 1) การเลือกระบบและรวบรวมข้อมูล 2) การกำหนดขอบเขตของระบบ 3) การกำหนดรายละเอียดของระบบ 4) กำหนดหน้าที่ และข้อขัดข้องในการทำงานของระบบ 5) การวิเคราะห์รูปแบบและผลที่เกิดจากข้อขัดข้องแต่ละรูปแบบ 6) การวิเคราะห์ตรรกะภารกิจบำรุงรักษา 7) การเลือกงานบำรุงรักษา ผลที่ได้รับคือ การสร้าแผนการบำรุงรักษาของระบบทำความเย็นแบบ Contact Plate freezer โดยครอบคลุมแต่ละรูปแบบการขัดข้องของเครื่องจักร ซึ่งจะช่วยลดความขัดข้องของเครื่องจักรลง และลดลงานบำรุงรักษาที่เกิดความจำเป็น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1257
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น