กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1254
ชื่อเรื่อง: การศึกษาสภาพทางภูมิประเทศและสมุทรศาสตร์ที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการทางกายภาพของชายฝั่งทะเล ตามแนวชายฝั่งทะเล จังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study on topographical and oceanographical condition influencing coastal physcial processes along coastline in Chonburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธรรมนูญ รัศมีมาสเมือง
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การกัดเซาะชายฝั่ง
ชายฝั่งทะเลตะวันออก
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาโครงการนี้เป็นการศึกษาสภาพทางธรณีสัณฐานและภูมิประเทศชายฝั่งทะเลของจังหวัดชลบุรี และความสัมพันธ์ระหว่งสภาพสมุทรศาสตร์ที่มีผลต่อลักษณะทางธรณีสัณฐานและภูมิประเทศ การศึกษาจะมีทั้งการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ เช่น ข้อมูลแผนที่ ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา และการสำรวจจากภาคสนามเบื้องต้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี จากการศึกษาพบว่า แนวชายฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี มีลักษณะทางธรณีสัณฐานที่มีความหลากหลายมาก มีทั้งแนวชายฝั่งที่เป็นหาดโคลน หาดทราย หัวหาด และพื้นที่ป่าชายเลน โดยบริเวณชายฝั่งตั้งแต่ปากน้ำแม่น้ำบางปะกงลงใต้มาถึงหัวหาดอ่างศิลา จะเป็นหาดโคลน และมีพื้นที่ป่าชายเลนสลับอยู่ แหล่งที่มาของตะกอนโคลนน่าจะมาจากปากแม่น้ำบางปะกง แนวชายฝั่งตั้งแต่หัวหาดอ่างศิลา ลงไปจนถึงบางสะเหร่ อำเภอสัตหีบ มีหัวหาดวางตัวอยู่เป็นระยะ ๆ เช่น หัวหาดอ่างศิลา แหลมแท่น แหลมฉบัง เขาพัทยา หัวหาดบางสะเหร่ เป็นต้น และระหว่างหัวหาดเหล่านี้ จะมีแนวชายฝั่งที่เป็หหาดทรายอยู่ ซึ่งแนวหาดทรายเหล่านี้หลายแห่งก็เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง เช่น ชายหาด บางแสน ชายหาดพัทยา ชายหาดนาจอมเทียน เป็นต้น ข้อมูลสถิติลม 15 ปี ในบริเวณพื้นที่ศึกษา แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ลมหลักที่มีผลกระทบต่อชายฝั่งทะเลในพื้นที่การศึกษา คือ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยลมทิศทางดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดคลื่นลมบริเวณใกล้ฝั่งทะเลจังหวัดชลบุรี ที่มีความรุนแรงน้อยกว่าบริเวณใกล้ฝั่งทะเลจังหวัดระยอง จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด นอกจากนี้ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จะส่งผลทำให้เกิดคลื่นลมในบริเวณน้ำลึกทิสทางเดียวกัน และคลื่นลมนี้จะพัดเคลื่อนตัวเข้ามาปะทะหัวหาดที่มีอยู่เป็นระยะ ๆ ทำให้เกิดการเลี้ยวบน ก่อนที่จะพัดเข้าสู่ชายฝั่ง ส่งผลให้สภาพทางกายภาพของแนวชายฝั่งเป็นรูปคดโค้ง โดยมีชื่อเรียก เช่น Pocket Bay, Curved Bay หรือ Crenulate Bay เป็นต้น
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1254
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น