กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1253
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | เอกอุ ธรรมกรบัญญัติ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:04:22Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:04:22Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1253 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการออกแบบและสร้างชุดทดลองการโก่งงอของแผ่น เพื่อศึกษาพฤติกรรมของแผ่นที่ได้รับภาระกระทำในแนวแกน จนเกิดการเปลี่ยนรูปไปในแนวนอกระนาบโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ การออกแบบและสร้างชุดทดลอง การวัดและรวบรวมข้อมูล และการทดลองและวิเคราะห์ผล ในการออกแบบและสร้างชุดทดลองนั้นได้เลือกใช้เครื่องกดไฮโดรอลิคเป้นอุปกรณ์ส่งภาระผ่านแท่นกดไปยังแผ่นทดสอบโดยมีจุดจับยึดชิ้นงานที่ได้ออกแบบและสร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่จับยึดแผ่นให้มีเงื่อนไขขอบเป็นแบบรองรับแบบง่าย ในส่วนของการวัดและรวบรวมข้อมูลจะใช้มาตรวัดภาระต่อเข้ากับชุดเก็บข้อมูลของบริษัทเนชันแนลอินสทรูเมนท์ จำกัด ในการวัดภาระที่กระทำกับชิ้นงาน ทำการวัดระยะเคลื่อนตัวในแนวระนาบในแนวนอกระนาบของแผ่นโดยใช้ไดอัลเกจ นอกจากนี้ยังได้ทำการศึกษาวิธีของมอยเร่และนำมาใช้ตรวจสอบการโก่งงอของแผ่นที่เกิดขึ้นด้วย เพื่อทดสอบการทำงานของชุดทดลองที่ได้สร้างขึ้น ได้ทดลองกดแผ่นอะลูมิเนียมหนา 2 มิลลิเมตร ขนาด 200x200, 400x200,300x300 และ 600x300 ตารางมิลลิเมตร ขนาดละ 3 แผ่น โดยแบ่งวิธีการหาค่าภาระวิกฤติออกเป็น 3 วิธีคือ วิธีจุดเปลี่ยนผัน วิธียุบตัวในแนวแรง และวิธีของเซาธ์เวลล์ จากนั้นจึงนำมาเปรียบเทียบกับค่าภาระวิกฤติที่คำนวณไว้ทางทฤษฎี ซึ่งจากผลการทดลอง พบว่า 1. แผ่นอะลูมิเนียมขนาด 200x200 ตารางมิลลิเมตร วิธียุบตัวในแนวแรงให้ค่าภาระวิกฤติใกล้เคียงกับค่าภาระวิกฤติทางทฤษฎี โดยมีความคลาดเคลื่อน 1.98 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวิธีจุดเปลี่ยนผันและวิธีของเซาธ์เวลล์ให้ค่าคลาดเคลื่อนค่อนข้างมาก 2. แผ่นอะลูมิเนียมขนาด 300x300 ตารางมิลลิเมตร วิธียุบตัวในแนวแรงให้ค่าภาระวิกฤติใกล้เคียงกับค่าภาระวิกฤติทางทฤษฎี โดยมีความคลาดเคลื่อน 3.79 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวิธีจุดเปลี่ยนผันและวิธีของเซารธ์เวลล์ให้ค่าคลาดเคลื่อนที่สูงมาก โดยวิธีที่ให้ค่าคลาดเคลื่อนมากที่สุดคือ วิธีของเซาธ์เวลล์ 3. แผ่นอะลูมิเนียมขนาด 400x200 ตารางมิลลิเมตร ไม่มีวิธีใดที่จะให้ผลใกล้เคียงกับค่าภาระวิกฤติทางทฤษฎี โดยมีความคลาดเคลื่อนแต่ละวิธีมีดังนี้ วิธียุบตัวในแนวแรงไม่สามารถหาค่าได้ วิธีจุดเปลี่ยนผันมีความคลาดเคลื่อน 57.61 เปอร์เซ็นต์ และวิธีของเซาธ์เวลล์ มีค่าความคลาดเคลื่อน 12.66 เปอร์เซ็นต์ 4. แผ่นอะลูมิเนียมขนาด 600x300 ตารางมิลลิเมตร ไม่มีวิธีใดที่จะให้ผลใกล้เคียงกับค่าภาระวิกฤติทางทฤษฎี โดยมีความคลาดเคลื่อนแต่ละวิธีมีดังนี้ วิธียุบตัวในแนวแรงไม่สามารถหาค่าได้ วิธีจุดเปลี่ยนผันมีความคลาดเคลื่อน 60.76 เปอร์เซ็นต์ และ 130.18 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าค่าภาระวิกฤติที่ได้จากวิธียุบตัวในแนวแรงจะให้ค่าที่น้อยกว่าค่าภาระวิกฤติทางทฤษฎี และในกรณีวิธียุบตัวในแนวแรงที่ Aspect Ratio = 2 ค่าภาระวิกฤติไม่สามารถหาค่าได้เลย อนึ่งความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นเป็นผลจากความไม่สามบูรณ์ของแผ่นอะลูมิเนียมที่ใช้ทดลอง ความคลาดเคลื่อนจากชุดทดลองและการติดตั้ง และจำนวนชิ้นทดสอบและความถี่ในการบันทึกข้อมูล ซึ่งผลจากการทดลองดังกล่าวยังไม่สามารถสรุปชี้ชัดได้ว่า ชุดทดลองมีความเหมาะสมในการทำวิจัยหรือไม่ เนื่องจากจำนวนชิ้นทดลองต้องมีมากกว่านี้ แต่ในเบื้อต้นชุดทดลองการโก่งงอของแผ่นนี้สามารถใช้ในการเรียนการสอนได้โดยต้องปรับปรุงอุปกรณ์และการติดตั้งบางส่วน | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | ทฤษฎีการโก่งงอ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย | th_TH |
dc.title | การออกแบบและสร้างชุดทดลองการโก่งงอของแผ่น | th_TH |
dc.title.alternative | Design and Build a Buckling of Plate Testing Apparatus | en |
dc.type | Research | |
dc.year | 2551 | |
dc.description.abstractalternative | This research is design and builds a buckling of plate testing apparatus for study the behaviors of plates subjected to the in-plane load. The projected is divided into three parts: design and build structures of hydraulic press, measurement ans acquisition of data, and experimental analysis. A hydraulic compression are used in the apparatus to send force to the plate which is fixed by knife edge supports for simply supported condition. For the data measurement and acquisition, load cell and NI equipments are used to find the compress load. In-plane and out of plane displacements are measured by dial gauge. In the experiment, the aluminum plates, 200x200, 400x200, 300x300, and 600x300 mm2, which thickness of two millimeter are investigated. Each size of plates have three specimens. Therefore, twelve experiments are performed. Inflection point method, end-shortening method,and southwell plot method are used to determine the buckling loads and compare with the theory. Moire method is also employed to predict the bucklong of plates in experiments The results are as follow: For 200x200 mm2 aluminum plate size , the end-shortenting method canpredict the critical load very close to the theory with discrepancy of 1.98% for 300x300 mm2 aluminum plate size , the end-shortenting method also predict the very good value of buckling which id difference from the theory by 3.79% For 400x200 mm2 aluminum plate size, none of this method can determine acceptable buckling load. The end-shortening method can not show the buckling load in this case. The inflection point method and southwell method have an error of 57.61% and 12.66% , respectively For 600x300 mm3 alumnum plate size, the acceptable buckling load can not be predicted by this method. As previous care, the end-shortening method can not show the buckling load. The inflection point and southwell method have an error of 60.76% and 30.18%, respectively. For square plates, the critical loads from the end-shortening main method are less than the theoretical buckling loads. The critical load in the case of plates with aspect ratio of two can not be determine by this method. The problems in the experiments are plate imperfections, error in testing apparatus, and number of test. The result in this project can not be strongly summarize because of the less of specimens that are tested. But this apparatus can be used in the study of solid mechanics for present the behaviors of plate buckling Repairing development in some jigs may improve the accuracy of the experiments. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น