กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1248
ชื่อเรื่อง: การตรวจสอบการตกค้างของยาปราบศัตรูพืชในผลิตภัณฑ์เกษตรบริเวณแม่น้ำจันทบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Determination of pesticide residues in agricultural product from Chanthaburi river
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วศิน ยุวนะเตมีย์
นภาพร เลียดประถม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะเทคโนโลยีทางทะเล
คำสำคัญ: ยาปราบศัตรูพืช
สารตกค้าง
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: คณะเทคโนโลยีทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: จังหวัดจันทบุรีมีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเป้นจำนวนมาก อาจทำให้มีการใช้สารเคมีในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เช่น สารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่าง ๆ รวมถึงสารละลายฟอร์มัลดีไอด์หรือสารฟอร์มาลินซึ่งเป็นสารที่มีอันตรายต่อมนุษย์ นอกจากนี้ฟอร์มัลดีไอด์ยังเป็นสารที่มีการใช้อย่างผิดวิธี โดยมีการนำมารักษาสภาพอาหารไม่ให้เน่าเสีย ซึ่งอาจทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารฟอร์มัลดีไฮด์ จึงอาจทำให้เกิดอันตรายต่อผู้บริดภค ดังนั้นการศึกาครั้งนี้จึงทำการศึกษาการปนเปื้อนของสารกำจัดศัตรูพืชในปลากะพงขาว และวัดการตกค้างของฟอร์มัลดีไฮด์ในปลากะะงขาว แมงกะพรุนและหมึกกรอบ บริเวณจังหวัดจันทบุรี จากการศึกษาไม่พบการปนเปื้อนของสารกำจัดศัครูพืชชนิดออการ์โนคลอรีนทั้ง 11 ชนิด และคาร์บาเมต 8 ชนิด อย่างไรก็ตามพบว่ามีปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์ในปลากะพงขาวอยู่ระหว่าง 1.41-8.48 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และจากการเปรียบเทียบปริมาณฟอมัลดีไฮด์ในปลากะพงขาวจากแหล่งต่าง ๆ คือ ปลากะพงขาวจากบ่อดิน (3.19+-0.74 มก./กก.) กระชัง (3.15+-11 มก./กก.) และตลาดสด (3.89+-3.14 มก./กก.) ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) อย่างไรก็ตามจากการศึกษาพบว่า ปลากะพงขาวจากตลาดวรรณการ อำเภอมะขามซึ่งมีค่าเท่ากับ 8.48 มก./กก. มีค่ามากกว่าสถานีอื่นอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ในขณะที่การตรวจวัดฟอร์มัลดีไฮด์ในแมงกะพรุนดอง แมงกระพรุนแห้งและหมึกกรอบ ใน 11 ร้านค้า ใน 5 อำเภอของจังหวัดจันทบุรี พบว่าแมงกะพรุนดองมีปริมาณมัลดีไฮด์อยู่ระหว่าง 0.62-3.98 มก./กก. และหมึกกรอบมีปริมาณฟอร์มัลดีไฮด์อยู่ระหว่าง 0.97-192.64 มก./กก. จากการประเมินความเสี่ยงของฟอร์มัลดีไฮด์ต่อผู้บริโภคในอาหารทะเลแต่ละชนิด โดยการคำนวณค่าการบริโภคของฟอร์มัลดีไฮด์ใน 1 วัน Estimate Daily Intake (EDI) สูงสุดของการศึกษาครั้งนี้ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.014 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับค่าที่ยอมรับได้ต่อวันสำหรับการบริโภคฟอร์มัลดีไฮด์ Acceptable Daily Intake (ADI) มีค่า 0.2 มิลลิกรัม/กิโลกรัม พบว่า ฟอร์มัลดีไฮด์ยกเว้นในหมึกกรหอบที่มีค่าสูงกว่า ADI ดังนั้นการบริโภคหมึกกรอบจึงมีแนวโน้มที่จะเกิดความเสี่ยงในการบริโภค
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1248
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น