กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1232
ชื่อเรื่อง: | การผลิตเครื่องประดับโลหะหลากสีด้วยเทคนิคโมกุเม่กาเน่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Multicolored metal jewelry making by Mokeme gane |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ปริญญา ชินดุษฎีกุล พิมพ์ทอง ทองนพคุณ ดาวรรณ หมัดลี อรุณี เทอดเทพพิทักษ์ มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี |
คำสำคัญ: | เครื่องประดับโลหะ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี |
บทคัดย่อ: | โมกุเม่กาเน่เป็นเทคนิคที่ใช้โลหะหลายชนิดที่มีสีสันแตกต่างกันในการทำให้เกิดลวดลายบนผิวของแผ่นโลหะที่นำมาทำเครื่องประดับ งานวิจัยนี้เป็นการหาเวลาและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเชื่อมแผ่นโลหะทองแดง เงินสเตอร์ลิง และทองเหลืองให้ติดกันด้วยความร้อนและแรงอัด จากการทดลองเชื่อมโลหะทีละคู่และดูรอยต่อของแผ่นโลหะจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) ทำให้ทราบอุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการเชื่อมแผ่นโลหะทองแดงกับเงินสเตอร์ลิงคือ 750'c ระยะเวลายืนอุณหภูมิ 2 ชั่วโมง อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการเชื่อมแผ่นโลหะเงินสเตอร์ลิงกับทองเหลืองคือ 750'c ระยะเวลายืน อุณหภูมิ 1 ชั่วโมง อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการเชื่อมแผ่นโลหะทองแดงกับทองเหลืองคือ 900 'c ระยะเวลายืนอุณหภูมิ 1 ชั่วโมง และสุดท้ายการเชื่อมโลหะ 3 ชนิดคือ ทองแดง เงินสเตอร์ลิง และทองเหลือง โดยใช้เงินสเตอร์ลิงเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้น อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมในการเชื่อมคือ 750 'c ระยะ เวลายืนอุณหภูมิ 2 ชั่วโมง การทดสอบด้วยเทคนิค Line scan Energy Dispersive Spectroscopy แสดงให้เห็นถึงการแพร่ของโลหะที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อของแผ่นโลหะแต่ละชนิด เมื่อได้สภาวะที่เหมาะสมในการทำแท่งโลหะที่ประกอบไปด้วยโลหะต่างชนิดกันแล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนในการทำแผ่นโลหะโมกุเม่กาเน่ โดยเริ่มจากการนำแผ่นโลหะต่างชนิดกันมาวางเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ห่อด้วยแผ่นสแตนเลสบางเพื่อลดการสัมผัสกับอากาศ หลังจากนั้นนำห่อสแตเลสใส่ในแคมป์เหล็กเพื่อหนีบให้ผิวหน้าของแผ่นโลหะแต่ละแผ่นติดกัน นำแคมป์เหล็กใส่ในกล่องสแตนเลส์ที่มีถ่านไม้บรรจุอยู่ภายใน ปิดฝาให้เรียบร้อยและนำกล่องสแตลเลสใส่ในเตาไฟฟ้า เมื่อถึงอุณหถูมิและเวลาที่กำหนด นำแคมป์เหล็กออกมาวางบนทั่งเหล็กและใช้ค้อนทุบ รอจนกระทั่งแคมป์เหล็กเย็นลงจึงนำโลหะที่อยู่ในห่อสแตนเลสออกมา ขั้นต่อไปเป้นการทำลวดลายบนแผ่นโลหะซึ่งแบ่งเป็น 2 วิธี คือ 1) การเจาะแท่งโลหะให้เป็นรูปแล้วนำไปรีดให้เป็นแผ่นบาง 2) การบิดแท่งโลหะเป็นเกลียวด้วยความร้อนแล้วนำไปผ่าเป็นสองซีก ขั้นตอนสุดท้ายนำแผ่นโลหะมาประกอบลงบนตัวเรือนเครื่องประดับที่เตรียมไว้ |
URI: | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1232 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น