กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1220
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorปารีชา รัตนศิริ
dc.contributor.authorอนุพนธ์ พิมพ์ช่วย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:04:20Z
dc.date.available2019-03-25T09:04:20Z
dc.date.issued2549
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1220
dc.description.abstractในปีการศึกษา2547 ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ศึกษา ออกแบบ และสร้างยานต้นแบบสำรวจใต้น้ำอัตโนมัติขึ้น โดยยานต้นแบบทำงานแบบอัตโนมัติ อย่างไรก็ตาม ยานต้นแบบยังมีข้อจำกัดหลายประการคือ มีการรั่วซึมของน้ำ การควบคุมการเคลื่อนที่มีความซับซ้อน ขนาดใหญ่เกินความจำเป็น และมีพลังงานสำรองต่อการใช้งาน 1 ครั้ง เพียง 30 นาที ด้วยเหตุผลดังกล่าว ในปีการศึกษา 2548 จึงได้แนวคิดพัฒนายานสำรวจใต้น้ำขึ้นเพื่อลดข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับยานต้นแบบ โดยใช้ชื่อโครงงานว่า “ยานสำรวจใต้น้ำแบบกึ่งอัตโนมัติ” การออกแบบเริ่มจากศึกษาจุดเด่น จุดด้อย ของยานต้นแบบ โดยคงไว้ซึ่งจุดเด่นและปรับปรุงจุดด้อยที่มีอยู่ จากนั้นออกแบบโครงสร้างของยานสำรวจ โดยใช้ทฤษฎีท่อความดันผนังบางและทฤษฎีแรงลอยตัว ได้ยานสำรวจที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 11.4 เซนติเมตร ยาว 53.1 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 6 กิโลกรัม ซึ่งเกินจากขอบเขต เนื่องจากยานสำรวจต้องเพิ่มความยาวตามขนาดของแบตเตอรี่ และใช้ทฤษฎีแรงต้านการเคลื่อนที่ในการออกแบบชุดขับเคลื่อน ยานสำรวจสามารถทำการทดสอบใต้น้ำที่ความลึกสูงสุด 3 เมตร ต่อมาทดสอบการทำงานของยานสำรวจโดยแบ่งเป็น ทดสอบการรั่วซึมของน้ำ ทดสอบการเคลื่อนที่ของยานสำรวจ และทดสอบการทำงานของกล้องวงจรปิด ซึ่งการทดสอบการรั่วของน้ำ พิจารณาที่บริเวณแกนเพลามอเตอร์และบริเวณจุดต่อภายนอกยานสำรวจ พบว่าไม่เกิดปัญหารั่วซึม และการทดสอบการเคลื่อนที่ของยานสำรวจ ได้ทดสอบการเคลื่อนที่เดินหน้า – ถอยหลัง การเคลื่อนที่ขึ้น – ลง ในแนวดิ่ง การเลี้ยวซ้าย – ขวา รอบตัวเอง และรอบชุดขับเคลื่อน จากการทดสอบ ยานสำรวจเคลื่อนที่เดินหน้าและถอยหลังด้วยความเร็วเฉลี่ย 0.17 และ 0.09 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ และเกิดการเบี่ยงเบนไปในแกนอ้างอิงเป็นมุมเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 และ 5.13 องศา ตามลำดับ ความเร็วในการเลี้ยวซ้ายและขวาแบบหมุนรอบตัวเองเฉลี่ยเท่ากับ 24.39 และ 15.55 องศาต่อวินาที ตามลำดับ แลพความเร็วในการเลี้ยวซ้ายและขวาแบบหมุนรอบชุดขับเคลื่อนเฉลี่ยเท่ากับ 22.04 และ 20.37 องศาต่อวินาที ตามลำดับ ความเร็วในการเคลื่อนที่ขึ้นและลงในแนวดิ่งเฉลี่ยเท่ากับ 0.11 และ 0.13 เมตรต่อวินาที ตามลำดับ การทดสอบการทำงานของกล้องวงจรปิด แบ่งทดสอบในเวลากลางวันและกลางคืน โดยใช้แผ่นไม้ที่เขียนตัวอักษร ขนาด 10 ตารางเซนติเมตร เป็นวัตถุทดสอบ ซึ่งระยะที่สามารถเห็นวัตถุและตัวอักษรได้ชัดเจนที่สุดคือ 0.25 เมตร และระยะที่ไกลที่สุดในเวลากลางคืนที่สามารถเห็นวัตถุได้คือ 0.48 เมตร จากผลการทดสอบแสดงว่ายานสำรวจมีความคลาดเคลื่อนด้านตำแหน่งคือ ขณะหน้าและถอยหลังมีความคลาดเคลื่อน 5.70 และ 4.07 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และมีความคลาดเคลื่อนด้านความเร็วในการเคลื่อนที่คือ ขณะเดินหน้าและถอยหลังมีความคลาดเคลื่อน 13.33 และ 40.00 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ขณะเลี้ยวซ้ายและขวารอบตัวเองมีความคลาดเคลื่อน 50.05 และ 68.15 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ขณะเลี้ยวซ้ายและขวารอบชุดขับเคลื่อนมีความคลาดเคลื่อน 8.70 และ 15.62 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ และขณะเคลื่อนที่ขึ้นและลงในแนวดิ่ง มีความคลาดเคลื่อน 13.33 และ 26.67 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในการทดสอบนั้นเป็นผลมาจากสายสัญญาณควบคุม ที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ยานสำรวจเคลื่อนที่ไม่เป็นอิสระ รวมทั้งปัจจัยต่างๆ ที่มิได้พิจารณาเช่น การไหลของกระแสน้ำ และประสิทธิภาพของมอเตอร์แต่ละตัวที่ไม่เท่ากัน เป็นต้น เพื่อเป็นการลดความคลาดเคลื่อนดังกล่าว สามารถทำได้โดย พัฒนาการควบคุมเป็นแบบไร้สาย และติดตั้งตัวตรวจรู้เพื่อควบคุมตำแหน่งของยานสำรวจต่อไปth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectยานต้นแบบสำรวจใต้น้ำอัตโนมัติth_TH
dc.subjectสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยth_TH
dc.titleการออกแบบยานสำรวจใต้น้ำแบบกึ่งอัตโนมัติth_TH
dc.typeงานวิจัย
dc.year2549
dc.description.abstractalternativeFor academic year 2004, a design of a Prototype of an Autonomous Underwater Vehicle had crated by Mechanical department, faculty of Engineering, Burapha University. It’s the great start to the study in this field. However, it has many problems – water leak, difficult to control, much more weight and short operating time. So, in the academic year 2005, the develop and construct of the underwater vehicle are started. The development is considered about the control method, weight of the underwater vehicle, power supply for the operation and efficiency of an explorer. It’s called “Semi – Autonomous Underwater Vehicle”. Firstly, study about AUV’s advantage and disadvantage for uses to be the standard references. Try to reduce its disadvancetages but still for its advancetages. Secondly, Underwater Vehicle’s hull is designed by using the theory of thin wall pressure vessel and the theory of buoyancy force including the theory of drag force to obtain strength, weight and thruster specifications, respectively. Finally, the testing of Underwater Vehicle 2’s movement and efficiency of camera are provided. An underwater vehicle is 11.4 cm diameter, 53.1 cm long and approximate weights are 6 kg. It theoretically can submerge reach to 3 meters below water surface and it’s velocity of 0.15 m/s with the still water. Currently, the operating time is tests done in 2 hours, approximately. The velocities of forward and backward movement are 0.17 and 0.09 m/s, respectively. The angular velocity for turn left and right about self axis are 24.39 and 15.55 deg/s, respectively and about the horizontal thrusters are 22.04 and 20.37 deg/s, respectively. And up and down movement velocities are 0.11 and 0.13, respectively. The error of experiments show as follow : - % position error for forward – backward motions are 5.7% and 4.07% - % velocity error for forward – backward motions are 13.33% and 40.00% - % velocity error for turn left – turn right about self axis are 50.05% and 68.15% - % velocity error for turn left – turn right about horizontal thrusters axis are 8.70% and 15.62% - % velocity error for vertical up – down motions are 13.33% and 26.67% The error of experiments as result it causes by the control signal lines and neglected factors such as stream line and the different of motors efficiency. To reduce these errors, wireless systems and positioning sensor must be installeden
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น