กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1211
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | พัทรพงษ์ อาสนจินดา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:01:24Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:01:24Z | |
dc.date.issued | 2553 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1211 | |
dc.description.abstract | โครงงานวิจัยนี้ทำการศึกษาการหาน้ำหนักรถบรรทุกขณะเคลื่อนที่บนสะพานจากสัญญาณความเครียดของสะพานเป็นข้อมูลในการคำนวณน้ำหนักรถบรรทุก การหาค่าน้ำหนักเพลาทางสถิตและน้ำหนักรวมของรถบรรทุกกระทำโดยสมมติให้ค่าน้ำหนักเพลามีค่าคงที่ตลอดช่วงเวลาที่สัญจรผ่านโครงสร้างสะพาน และใช้วิธีการหาค่าที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธียกกำลังสองน้อยที่สุดจากการเปรียบเทียบสัญญาณความเครียดที่ตรวจวัดและสัญญาณความเครียดทางทฤษฎีที่ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างแรงกระทำและผลตอบสนองของสะพานในระบบพลศาสตร์ด้วยเทคนิคซุปเปอร์โพซิชั่นเชิงโหมด การศึกษานี้ได้ทำการสังเคราะห์สัญญาณความเครียดของสะพานจากแบบจำลองปฏิกิริยาซึ่งกันและกันระหว่างสะพานและรถบรรทุกในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการจำลองให้มีความใกล้เคียงกับสภาพจริงสำหรับใช้ในการประเมินประสิทธิภาพของวิธีการหาน้ำหนักที่นำเสนอ โดยทำการศึกษาเชิงตัวแปรเพื่อศึกษาผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ที่มีต่อความถูกต้อง ซึ่งประกอบด้วย 1) พารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดข้อมูล ได้แก่ จำนวนและตำแหน่งของจุดตรวจวัดความเครียด, ความถี่ในการเก็บข้อมูล และระดับสัญญาณรบกวน 2) พารามิเตอร์ของยานพาหนะ ได้แก่ ขนาดของมวล, ความเร็วในการเคลื่อนที่, อัตราส่วนระหว่างน้ำหนักเพลา และระยะห่างระหว่างเพลา และ 3) พารามิเตอร์ของสะพาน ได้แก่ จำนวนโหมดของการสั่นสะเทือนที่ใช้ในการคำนวณ และระดับความขรุขระของผิวทาง จากผลการศึกษาพบว่าปัจจัยต่างๆ ที่ทำการศึกษามีผลต่อความคลาดเคลื่อนในการหาน้ำหนักอย่างมีนัยสำคัญ โดยรถบรรทุกที่มีน้ำหนักมาก เคลื่อนที่ด้วยความเร็วต่ำ มีระยะห่างเพลาที่ยาว และเคลื่อนที่บนพื้นผิวที่มีความขรุขระต่ำจะสามารถหาน้ำหนักเพลาและน้ำหนักรวมได้ถูกต้องมากกว่ารถบรรทุกที่มีน้ำหนักเบา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มีระยะเพลาที่แคบ และเคลื่อนที่บนพื้นผิวที่มีความขรุขระสูง โดยพบว่าความขรุขระของพื้นผิวสะพานมีผลกระทบต่อความถูกต้องมากที่สุด อย่างไรก็ตามในกรณีที่พื้นผิวสะพานมีความราบเรียบค่าความคลาดเคลื่อนของน้ำหนักเพลาหน้าน้ำหนักเพลาหลัง และน้ำหนักรวมมีค่าสูงสุดเพียง 3.5%, 1.9% และ 2.7% ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในระบบจริงได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | การหาค่าน้ำหนัก | th_TH |
dc.subject | รถบรรทุก | th_TH |
dc.subject | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย | th_TH |
dc.title | การศึกษาเชิงพารามิเตอร์ของการหาน้ำหนักเพลาของยานพาหนะขณะเคลื่อนที่จากผลตอบสนองทางพลศาสตร์ของสะพาน | th_TH |
dc.type | Research | |
dc.year | 2553 | |
dc.description.abstractalternative | This research project studies the determination of moving truck load bridge strain which is used as the input for the for the weight calculation. The static axle weight and gross weight of the truck is identified by assuming the axle load to be constant for whole period passing the bridge structure. The optimization employing least squares method is adopted to identify the axle loads by minimizing the difference between the measured bridge strain and the theoretical bridge strain obtained from relationship of load and bridge response in dynamic system through model superposition technique. In this study, bridge strain signal of vehicle-bridge interaction model is simulated in the computer. In order to visualize the behavior to be close to the real condition for effectiveness evaluation of the proposed identification method, the accuracy investigation is carried out using parametric study which consists of 1) measurement parameters including number and location of strain measurement station, sampling frequency and level of noise; 2) vehicle parameters including mass, moving speed, axle load ratio and axle spacing; 3) bridge parameters including number of vibration modes used in calculation and surface roughness level. From the result of study, it is observed that the mentioned parameters significantly affect the load identification error. A truck having heavier weight, slower moving speed, longer axle spacing and traveling on surface with lower roughness can be identified more accurate than one having lighter weight, faster moving speed, shorter axle spacing and traveling on surface with higher roughness. In addition, it is also indicated that the bridge surface roughness exhibits the most influence on identification accuracy. However, in the case of smooth bridge surface, the maximum identification errors of front axle load, rear axle load and gross weight respectively are 3.5%, 1.9% and 2.7% which are in the level that can be applied the real application | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น