กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1188
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorพัทรพงษ์ อาสนจินดา
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:01:22Z
dc.date.available2019-03-25T09:01:22Z
dc.date.issued2553
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1188
dc.description.abstractโครงการวิจัยนี้ทำการศึกษาพฤติกรรมทางโครงสร้างของสะพานลอยและผลกระทบความสั่นสะเทือนที่มีต่อบุคคลโดยวิธีการทดสอบภาคสนาม เพื่อทำการตรวจสอบคุณสมบัติพื้นฐานทางพลศาสตร์และประเมินระดับความสั่นสะเทือนที่มีผลต่อผู้ใช้สะพานลอย โดยทำการสำรวจสะพานลอยคนข้ามแบบโครงสร้างเหล็กมาตรฐาน และเลือกทดสอบสะพานลอยคนข้ามบริเวณหน้าตลาดหนองมน ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี ซึ่งเป็นสะพานลอยคนสัญจรเป็นจำนวนมาก การดำเนินงานการทดสอบกระทำโดยการติดตั้งอุปกรณ์วัดความเร่งบริเวณพื้นผิวสะพานลอยเพื่อวัดระดับความเร่งของการสั่นสะเทือน และอุปกรณ์วัดความเครียดบริเวณคอร์ดล่างของโครงสร้างสะพานลอย โดยมีข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดจะถูกนำมาวิเคราะห์ค่าความถี่ธรรมชาติของโครงสร้างและผลกระทบของความสั่นสะเทือนที่มีผลต่อบุคคลในแง่ความรู้สึก จากผลการทดสอบ พบว่าความถี่ธรรมชาติโหมดที่ 1 และโหมดที่ 2 ของสะพานลอยมีค่าประมาณ 6.0 Hz และ 21.7 Hz ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าความถี่ของผู้ที่สัญจรบนสะพานลอยซึ่งมีค่าประมาณ 2 Hz และการทดสอบหาค่าสัดส่วนความหน่วงพบว่ามีค่าประมาณ 1.0-1.8% ซึ่งถือว่ามีค่าต่ำกว่าโครงสร้างทั่วไปที่มีค่าสัดส่วนความหน่วงอยู่ในช่วง 2-5% ค่าความเร่งของการสั่นสะเทือนสูงสุดที่ตรวจวัดได้ กรณีผู้สัญจรไม่เกิน 2 คน มีค่าเท่ากับ 251 mm/s2 โดยมีผลกระทบต่อบุคคลอยู่ในระดับความรู้สึกโดนรบกวน และระดับความรู้สึกไม่สบายและถูกรบกวนตามเกณฑ์ของ Von Gierke และ Goldman เกณฑ์ของ Richer และ Meister ตามลำดับ สำหรับกรณีที่มีผู้สัญจรในจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ค่าความเร่งของการสั่นสะเทือนที่ตรวจวัดได้จะมีค่าไม่น้อยกว่า 1076 mm/s และมีผลกระทบต่อบุคคลในระดับรู้สึกอย่างรุนแรง และระดับความรู้สึกเจ็บปวด ตามเกณฑ์ของ Von Gierke และ Goldman เกณฑ์ของ Richer และ Meister ตามลำดับ จากค่าความเครียดที่ตรวจวัดขณะใช้งานพบว่ามีค่าที่น้อยมากเมื่อเทียบกับค่าความเครียดที่ยอมให้ในการออกแบบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโครงสร้างสะพานมีการออกแบบโดยปราศจากการคำนึงถึงพฤติกรรทางพลศาสตร์ จึงเป็นเหตุให้เกิดผลกระทบด้านความสั่นสะเทือนต่อผู้ใช้สะพานth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการทดสอบภาคสนามth_TH
dc.subjectความสั่นสะเทือนth_TH
dc.subjectพฤติกรรมทางโครงสร้างth_TH
dc.subjectสะพานคนข้ามth_TH
dc.subjectสาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัยth_TH
dc.titleการศึกษาพฤติกรรมทางโครงสร้างและปัญหาการสั่นไหวของสะพานลอยคนข้ามด้วยการทดสอบภาคสนามth_TH
dc.typeResearchth_TH
dc.year2553
dc.description.abstractalternativeAbstract This research project studies structural behavior Effect due to vibration by field testing. In order to investigate fundamental dynamic characteristics and to evaluate vibration level affecting to footbridge users, the standard structure steel bridge near Nhong-mon market, Saensuk, Meung, Chonburi which is one of the bridge having frequent service is surveyed and selected for the test. The test is achieved by installing accelerometers on the bridge floor to measure the vibration acceleration level. Morever, strain gauges are attached at the lower chord of the footbridge structure. Natural frequency of the bridge and personal perception effect due to vibration are analyzed from the obtained measurement information. From the test result, it is observed that the fist and the second fundamental frequencies of the footbridge are 6.0 Hz and 21.7 Hz, respectively. These frequencies are larger than pedestrian frequency which is approximately 2 Hz. In addition, it is also found that the damping ratios obtained from the experiment are approximately 1.0-1.8% where the damping ratios of most structures are in the range of 2-5%. The measured maximum vibration acceleration in the case of 2 pedestrians or less is 251 mm/s2 which can be categorized into annoying, and uncomfortable and annoying levels with respect to vibration levels presented by Von Gierke and Goldman, and Richer and Meister, respectively. In the case of 5 pedestrians or above, the measured vibration levels presented Von Gierke and Goldman, and Richer and Meister, respectively. The strain measurement due to bridge usages in the test indicates that the observed strain is much lower compared to the allowable strain level used in structural design. This result reveals that the bridge structure was designed without dynamic behavior consideration which finally leads to vibration problem to the footbridge users.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น