กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1170
ชื่อเรื่อง: การทำความเย็นฮาร์ดไดร์ฟ
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรเชษฐ์ ภิรมย์ภักดิ์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การทำนำความร้อน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
ฮาร์ดไดรฟ์
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: ในปัจจุบัน ฮาร์ดไดร์ฟความเร็วสูง 7,200 รอบต่อนาที ได้กลายเป็นมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับฮาร์ดไดร์ฟที่ถูกใช้งานในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยปกติ ฮาร์ดไดร์ฟ IDE จะมีอุปกรณ์วัดอุณหภูมิภายในและสามารถที่จะรายงานอุณหภูมินี้ได้ ถึงแม้ว่า อุณหภูมิที่ถูกอ่านออกมานี้ ไม่ได้ให้ค่าที่ถูกต้องแม่นยำ แต่ก็สามารถที่จะบอกได้ว่า อุณฟภูมิการทำงานของไดร์ฟในขญะนั้นสูงไปหรือไม่ ฮาร์ดไดร์ฟที่ผลิตและวางจำหน่ายในปัจจุบัน มักจะทนความอุณหภูมิได้สูงสุด ประมาณ 50-60 Cฮาร์ดไดร์ฟจะไม่เหมือนกับ CPUs โดย CPUs จะเป็นอุปกรณ์ที่ทนทาน ถึงแม้ว่าจะมีอุณหภูมิในการทำงานใกล้เคียงกับอุณหภูมิสูงสุด ฮาร์ดไดร์ฟมักจะเป็นอุปกรณ์ที่เสียหายบ่อยเมื่อเทียบกับอุปกรณ์อื่นๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล อายุการใช้งานของฮาร์ดไดร์ฟจะเพิ่มขึ้น เมื่ออุณหภูมิในการทำงานต่ำลง ดังนั้นการทำความเย็นฮาร์ดไดร์ฟจะช่วยยืดอายุการใช้งานของฮาร์ดมากขึ้น ในโครงงานทางวิศวกรรมน้ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับการทำความเย็นฮาร์ดไดร์ฟโดยอาศัยหลักการการถ่ายโอนความร้อนทั้งเรื่องการนำความร้อนและการพาความร้อน จากการศึกษา สัมประสิทธิ์การพาความร้อนจะถูกนำเสนออยู่ในลักษณะของตัวแปรไร้หน่วย คือ ตัวเลขนัสเซลท์ โดยตัวเลขนัสเซลท์จะแปรผันโดยตรงกับตัวเลขเรย์โนลด์และอุณหภูมิของอากาศที่ไหลผ่านฮาร์ดไดร์ฟ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอสมการที่ได้จากการทดลอง เพื่อใช้ทำนายสัมประสิทธิ์การพาความร้อนระหว่างอากาศกับฮาร์ดไดร์ฟโดยสมการที่ได้จะให้ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 10 เปอร์เซ็นต์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1170
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น