กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1163
ชื่อเรื่อง: การศึกษาผลกระทบของขนาดของทังสเตนออกไซด์ในระบบตัวเร่งปฏิกิริยาโดยใช้แสงที่สามารถเก็บพลังงานได้
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ไพลิน เงาตระการวิวัฒน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ตัวเร่งปฏิกิริยา
ไททาเนียมไดออกไซด์
สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช
วันที่เผยแพร่: 2547
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาประสิทธิภาพการเก็บพลังงานของระบบตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้แสงที่สามารถเก็บพลังงานได้ โดยมีไททาเนียมไดออกไซด์ (Tio3) ทำหน้าที่เป็นแหล่งกำเนิดพลังงานและทังสเตนไตรอออกไซด์ (Wo3) ทำหน้าที่เป็นตัวเก็บพลังงาน โดยเน้นศึกษาอัตราเร็วในการเก็บประจุ (Initial charging rete) และความสามารถในการเก็บประจุ (Film capacity) ของระบบดังกล่าวในสภาวะอากาศ การพัฒนาระบบดังกล่าวทำโดยการปรับขนาดของอนุภาค Tio2 และ Wo3 ให้มีขนาดนาโน อีกทั้งปรับปรุงเทคนิคการขึ้นรูปฟิล์มของสารทั้งสองเป็นแบบคอมโพสิตฟิล์มและไบเลเยอร์ จากการทดลองพบว่า คอมโพสิทฟิล์มที่มีทังสเตนไตรออกไซด์ที่ได้จากการสังเคราะห์ซึ่งมีขนาดนาโน มีอัตราเร็วในการเก็บประจุไม่แตกต่างจากคอมโพสิทฟิล์มที่มีทังสเตนไตรออกไซด์ที่มีขนาดไมโคร อย่างไรก็ตามฟิล์มชนิดแรกมีความสามารถในการเก็บประจุสูงกว่า เมื่อเปรียบเทียบรูปแบบของฟิล์ม พบว่าคอมโพสิทฟิล์มมีประสิทธิภาพดีกว่าไบเลเยอร์ฟิล์ม อย่างไรก็ตาม การพัฒนาประสิทธิภาพของไบเลเยอร์ฟิล์มนั้นทำได้โดยเติม PEG ในปริมาณที่เหมาะสม (5% โดยน้ำหนัก) สำหรับคอมโพสิทฟิล์มที่มีไททาเนียมไดออกไซด์ที่ได้จาการสังเคราะห์ซึ่งมีขนาดนาโน จะมีประสิทธิภาพไม่ดีนักเมื่อเทียบกับคอมโพสิทฟิล์มที่มีไททาเนียมไดออกไซด์ซึ่งมีขนาดไมโคร อย่างไรก็ตาม คอมโพสิทฟิล์มที่มีไททาเนียมไดออกไซด์ขนาดนาโน จะเป็นฟิล์มที่มีความใส จึงเหมาะสำหรับงานที่กังวลเรื่องการเปลี่ยนสีของทังสเตนไตรออกไซด์
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1163
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น