กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1147
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | สุรเมศวร์ พิริยะวัฒน์ | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2019-03-25T09:01:19Z | |
dc.date.available | 2019-03-25T09:01:19Z | |
dc.date.issued | 2551 | |
dc.identifier.uri | http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1147 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้รถจักรยานยนต์ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา และตรวจสอบทัศนคติของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจลดการใช้รถจักรยานยนต์โดยกำหนดให้นิสิตมหาวิทยาลัยบูรพาเป็นกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่าง 1,080 คน ถูกเลือกจากกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรในแบบจำลองสมมติฐานกำหนดโดยทฤษฎี The theory of planned behavior และ The theory of habit ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจนำไปวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยสถิติเชิงพรรณนา เพื่อตรวจสอบภาพรวมของข้อมูลที่สำรวจได้ จากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่างๆ ในแบบจำลองสมมติฐานจะนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง ผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์ พบว่า การปรับปรุงสภาพแวดล้อมและลักษณะทางกายภาพโดยรอบมหาวิทยาลัยให้เหมาะสมสำหรับการเดินทางด้วยการเดินเท้าและจักรยาน เป็นปัจจัยที่ทำให้กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติที่สนับสนุนการลดการใช้รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้น และทำให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความตั้งใจลดการใช้รถจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นด้วย ผลการวิเคราะห์ด้วยแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง พบว่าพฤติกรรมเคยชินมีอิทธิพลอย่างมีนัยสำคัญต่อทัศนคติและแนวคิดของกลุ่มเป้าหมายในฐานะที่เป็นปัจจัยแฝงที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายต่อต้านการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้รถจักรยานยนต์อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ทัศนคติที่มีต่อการลดการใช้รถจักรยานยนต์ บรรทัดฐานของบุคคลเกี่ยวกับการลดการใช้รถจักรยานยนต์และการรับรู้ถึงความยากง่ายในการลดการใช้รถจักรยานยนต์นั้น มีผลลัพธ์ที่ได้เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ของแบบจำลองสมมติฐาน โดยปัจจัยที่สนับสนุนให้กลุ่มตัวอย่างเกิดความตั้งใจลดการใช้รถจักรยานยนต์ ได้แก่ การยอมรับ การสนับสนุน และการเห็นด้วยต่อการลดการใช้รถจักรยานยนต์และการสนับสนุนของคนใกล้ชิดกลุ่มตัวอย่าง | th_TH |
dc.description.sponsorship | สนับสนุนโดยทุนอุดหนุนการวิจัยและพัฒนา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | en |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.subject | พฤติกรรมการเดินทาง | th_TH |
dc.subject | รถจักรยานยนต์ | th_TH |
dc.subject | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย | th_TH |
dc.title | การศึกษาความตั้งใจเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางเพื่อลดการใช้รถจักรยานยนต์ของนิสิตมหาวิทยาลัยบูรพา | th_TH |
dc.type | Research | th_TH |
dc.year | 2551 | |
dc.description.abstractalternative | This research was aimed to reveal motorcycle-use behaviors and attitudes of the focused group Burapha University’s student, that influence their intentions toward motorcycle-use reduction. Questionnaire survey was carried out for collecting available data from one thousand and eighty respondents who were randomly selected from the focused group. The theory of planned behavior and the theory of habit were used as framework for forming assumption model using for explaining attitudes and intention of reducing motorcycle-use of the focused group. Data was firstly analysed by descriptive statistics to investigate overall backgrounds of the sample. Then, the relations among variables in the assumption model were obtained by structural equation modeling. The results suggested environment and travel infrastructure improvements as solutions that increase positive attitudes of the focused group toward motorcycle-use reduction and encourage their intention of ruducing motorcycle-use as well. Next, the results from structural equation modeling suggest “habitual motorcycle usages" as a vital factor that encourage repeated motorcycle-use behaviors of the focused group and perform as significant barrier for modifying their travel behaviors. In contrast, the results suggest “acceptability support, and agreement on motorcycle-use reduction program” and “subjective norm” as important factors for moving the focused group from their motorcycle usages. | en |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | รายงานการวิจัย (Research Reports) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น