กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1134
ชื่อเรื่อง: แบบจำลองการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A Model for Intellectual Property (IP) Promotion in the Faculty of Engineering, Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วนิดา สกุลรัตน์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: ทรัพย์สินทางปัญญา
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่อง แบบจำลองส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการการช่วยเหลือในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย เพื่อศึกษาแนวทางการสนับสนุนในระดับคณะ/ มหาวิทยาลัยบูรพา เก็บข้อมูลจากบุคลากรมหาวิทยาลัย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้สอนและมีผลงานวิจัย สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้บริหารคณะวิศวกรรมศาสตร์ และผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 19 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง (Structured Interview From) สามารถสัมภาษณ์ได้ 17 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.47 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ และตารางสรุปข้อคิดเห็นเป็นรายกลุ่มในแต่ละประเด็น แล้วประมวลสรุปตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาได้ดังนี้ สภาพปัญหาและอุปสรรคในการสร้างสรรค์ผลงานวิจัย ประเภทประดิษฐ์คิดค้นคือ อาจารย์มีภาระงานสอนมากไม่มีเวลาทำวิจัย การรวมกลุ่มกันทำวิจัยยังมีน้อย ผู้วิจัยบางคนไม่ทราบว่ามีอะไรบ้างที่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้บ้างที่ทำอยู่สามารถนำไปจดสิทธิบัตรได้หรือไม่ อาจารย์ระดับปริญญาเอกที่จบกลับมาใหม่ๆ พบความไม่พร้อม บรรยากาศ สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย ผ่านไป 3-5 ปี ก็จะหันไปทำวิจัยพื้นฐานที่จดสิทธิบัตรไม่ได้ นอกจากนี้ยังขาดผู้วิจัยอาวุโสที่เป็นที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงให้ข้อแนะนำ ความต้องการการช่วยเหลือการสร้างสรรค์ผลงานวิจัยประเภทประดิษฐ์คิดค้น ต้องการให้หน่วยงานสนับสนุนด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่แล้วทำงานเชิงรุกให้เป็นที่รู้จัก และจ้างมืออาชีพมาให้ความรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะจดสิทธิบัตรได้ และควรดูแลงานวิจัยที่ทำเพื่อสังคมบ้าง ควรแก้ไขระเบียบด้านผลประโยชน์ให้ผู้ประดิษฐ์ได้รับจัดสรรอย่างน้อยร้อยละ 50 ของรายได้สุทธิ ให้โอกาสและสถานที่จัดแสดงผลงาน กำหนดให้ผลงานเป็น KPI (Key Performance Indicator) ของสาขาขาดแคลน และการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนประจำปีควรสนับสนุนให้เกิดงานวิจัยเพิ่มขึ้นและต่อเนื่อง อีกทั้งการร่วมงานกับภาคเอกชน ควรมีผู้ประสานงานดูแลด้านการตลาด นำโจทย์ปัญหามาให้อาจารย์ผู้สนใจคิด ก่อให้เกิดรายได้และชื่อเสียง สำหรับการศึกษาแนวทางการสนับสนุนในระดับคณะ/มหาวิทยาลัย ในกลุ่มตัวอย่างที่ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุงาน 3 ประการ ได้แก่ แรงจูงใจ นโยบาย/ยุทธศาสตร์ และหน่วยบริการด้านทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งทั้ง 3 ปัจจัยนี้ควรมีความสอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งในระดับคณะและมหาวิทยาลัย ผู้วิจัยได้ประมวลข้อคิดเห็นต่างๆ จากการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สร้างเป็นแบบจำลองส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาในคณะวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัย ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ มหาวิทยาลัยบูรพามุ่งเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ในนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการวิจัย ควรกำหนดให้ชัดเจน และส่งเสริมให้มีผลงานวิจัยเพิ่มขึ้นและต่อเนื่องคณะวิศวกรรมศาสตร์ผู้สนใจด้านการประดิษฐ์ คิดค้น สร้างนวัตกรรมใหม่ๆอยู่แล้ว ควรให้การสนับสนุนให้ก้าวหน้าต่อไปจนได้รับการจดสิทธิบัตร คณะอื่น ๆ เช่น คณะวิทยาศาสตร์ เภสัชศาสตร์ แพทยศาสตร์ สามารถใช้รูปแบบการส่งเสริมนี้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลได้ งานวิจัยสถาบันฉบับนี้เป็นผลงานที่สะท้อนให้เห็นปัญหา ความต้องการและแนวทางที่ควรจะเป็นไปของการสร้างสรรค์งานวิจัย ประเภทประดิษฐ์ คิดค้นได้เป็นอย่างดี ควรนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการบริหารองค์กรต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1134
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น