กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1126
ชื่อเรื่อง: การใช้แนวคิดแบบการเรียนเชิงรุกในการสอนรายวิชาที่มีเนื้อหาที่มีพื้นฐานเกี่ยวกับชีววิทยาในผู้เรียนที่เป็นนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Using of active learning for a biological basic course in engineering students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิทวัส แจ้งเอี่ยม
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิศวกรรมศาสตร์
คำสำคัญ: การวิจัยในชั้นเรียน
สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: เนื่องจากนิสิตผู้เรียนคณะวิศวกรรมศาสตร์ส่วนใหญ่นั้น ไม่ค่อยจะถนัดในเรื่องของวิชาชีววิทยาซึ่งเป็นวิชาที่มีเนื้อหาที่ค่อนข้างเยอะแลต้องอาศัยการจดจำควบคู่กับความเข้าใจ เมื่อมีการเรียนการสอนในรายวิชานี้ทำให้นิสิตเข้าใจยาก ดังนั้นจึงมีแนวคิดว่าหากนำการจัดการเรียนการสอนเชิงรุกที่เน้นให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมแลเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมนั้นๆ มาใช้ น่าจะเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องของการเรียนวิชานี้ได้ เพราะนอกจากผู้เรียนจะได้มีส่วนร่วมกับการเรียนการสอนแล้ว ยังส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ดึงศักยภาพแลแสดงความสามารถด้านอื่นๆ ออกมาผ่านกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ซึ่งตัวผู้เรียนเองได้ซึมซับและก็จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนจากผลการประเมินโดยให้นักเรียนทำแบบประเมินพบว่ากิจกรรมที่นักเรียนส่วนใหญ่พอใจมากที่สดคือ กิจกรรมการโต้วาที ซึ่งมีระดับค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.21 และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 โดยนักเรียนให้เหตุผลว่าที่ชอบกิจกรรมนี้เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้นิสิตได้ใช้ความรู้ควาสามารถอย่างเต็มที่ ได้ความรู้เพิ่มเติมในสิ่งที่ไม่รู้ ส่งเสริมให้รู้จักกล้าแสดงออก ได้แชร์ประสบการณ์และความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม เห็นภาพรวมของการเรียนอย่างชัดเจน ทำให้นิสิตใฝ่เรียนรู้มากขึ้นเพื่อหาข้อมูลมาใช้ในการพูด แต่บางครั้งก็เกิดการแข่งขันทำให้เครียดบ้าง ซึ่งความเครียดแบบนี้ถือว่าเป็นความท้าทายหนึ่งในการหาเหตุผลมาแย้งกันและเป็นการกระตุ้นให้การทำงานให้ออกมาดียิ่งขึ้น จากผลการประเมินสรุปได้ว่า การเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกับการเรียนผ่านการทำกิจกรรมที่หลากหลายนั้นมีส่วนช่วยให้นักเรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ดียิ่งขึ้นเพราะ ตัวผู้เรียนเองได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมต่างๆ เกิดกระบวนการเรียนรู้และจดจำผ่านการคิดและการทำกิจกรรมทำให้ไม่เบื่อบรรยากาศภายในห้องก็สนุกสนานอีกทั้งยังกระตุ้นการต่อยอดในความรู้ที่มีได้อีกด้วย ดังนั้นจึงถือได้ว่าการเรียนการสอนเชิงรุกเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพแลเกิดประโยชน์สูงสุดต่อตัวผู้เรียนได้
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1126
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น