กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1107
ชื่อเรื่อง: การทดลองอนุบาลลูกปลาหมึกกระดองก้นไหม้ Sepiella inermis fer.& d'Orb. ด้วยไรน้ำเค็มตัวเต็มวัยที่เลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิดกัน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Rearing of spineless cuttlefish, sepiella inermis fer, & d' orb. with adult brine shrimp, artemia salina fed with various kinds of feed
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรเทพ มุธุวรรณ
เสาวภา สวัสดิ์พีระ
ประหยัด มะหมัด
ปรารถนา ควรดี
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล
คำสำคัญ: ปลาหมึก - - การเลี้ยง - - วิจัย
ปลาหมึก - - อาหาร - - วิจัย
มหาวิทยาลัยบูรพา. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล - - วิจัย
สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
วันที่เผยแพร่: 2536
สำนักพิมพ์: สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: อาหารมีชีวิตนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญ ในการกำหนดความสำเร็จของการอนุบาลลูกปลาหมึกให้มีชีวิตรอด ทั้งนี้เนื่องจากปลาหมึกเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีพฤติกรรมเลือกกินอาหารที่มีชีวิตในการทดลองนี้ ต้องการที่จะหาอาหารมีชีวิตชนิดอื่นที่หาได้ง่าย มาทดแทนการอนุบาลหรือใช้ช่วยเสริมในการอนุบาลลูกปลาหมึก แทนการอนุบาลด้วยเคยตาดำ โดยการใช้ไรน้ำเค็มตัวเต็มวัย ที่นำมาเลี้ยงด้วยอาหารต่างชนิดกัน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารที่จำเป็นให้กับไรน้ำเค็มก่อนนำไปอนุบาลลูกปลาหมึก อาหารที่ใช้เลี้ยงไรน้ำเค็ม ได้แก่ สาหร่ายเตตราเซลมิส (Tetraselmis helle) สไปรูลินาแห้ง น้ำรำ น้ำมันตับปลา อาหารเทียม (microencapsulated feed) เปรียบเทียบกับการอนุบาลด้วยเคย โดยอนุบาลลูกหมึกกระดองที่มีความหนาแน่น 1,000 ตัวต่อตัน ในตู้กระจกที่ความจุน้ำ 30 ลิตร จำนวน 3 ซ้ำในแต่ละชุดทดลอง ให้อาหารวันละ 2 เวลา เช้าและเย็น เปลี่ยนถ่ายน้ำวันละ 25 เปอร์เซ็นต์ วัดและวิเคราะห์คุณภาพน้ำทุก 7 วัน เมื่อลูกหมึกอายุได้ 31 วัน ชั่ง วัด และนับจำนวนลูกหมึกที่เหลือรอดอยู่ทั้งหมด ผลการทดลองลูกหมึกมีอัตรารอดและอัตราการเจริญเติบโตสูงสุด ในชุดที่อนุบาลด้วยเคย โดยมีอัตรารอดเฉลี่ย84.4 10.3 % ส่วนกลุ่มที่เลี้ยงด้วยไรน้ำเค็มที่เลี้ยงด้วยอาหารต่างกัน พบว่ากลุ่มที่เลี้ยงด้วยไรน้ำรำ น้ำมันตับปลา หรืออาหารเสริม ให้อัตรรอดที่ไม่แตกต่างกัน (P<0.05) โดยมีอัตรารอดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 43.3-44.4 % ส่วนกลุ่มที่อนุบาลด้วยไรน้ำเค็ม ที่เลี้ยงด้วย เตตราเซลมิส หรือสไปรูลิน่า ให้อัตรารอดต่ำสุด โดยมีอัตรารอดเฉลี่ย 25.0 และ 26.7 % ตามลำดับ และพบว่าอัตราการเจริญเติบโต(ความยาวลำตัว)ของลูกปลาหมึก ที่อนุบาลด้วยไรน้ำเค็มทุกชุดทดลอง ไม่มีความแตกต่างกัน(P<0.05) จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าถึงแม้การใช้ไรน้ำเค็มตัวเต็มวัยจะให้ผลในการอนุบาลไม่ดีเท่าการใช้เคยก็ตาม แต่สามารถที่จะใช้ในการอนุบาลได้ และชนิดของอาหารที่ใช้เลี้ยงไรน้ำเค็มก็มีผลต่ออัตรารอดของลูกปลาหมึก
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1107
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น