กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1104
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorวัลลภา พ่วงขำ
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:01:16Z
dc.date.available2019-03-25T09:01:16Z
dc.date.issued2550
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1104
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์อุบัติเหตุอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุ ค่าใช้จ่ายจากการเกิดอุบัติเหตุถูกของมีคมที่สัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงานของบุคคลากรโรงพยาบาลหมาวิทยาลัยบูรพา เพื่อนำผลการวิจัยมาพัฒนาปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน จัดทำคู่มือการปฏิบัติการป้องกันการติดเชื้อโรคในบุคลากรทางการแพทย์ โดยวิธีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานจากแบบบันทึกและรายงานของบุคลากรที่เกิดอุบัติเหตุจำนวน 37 คน การประชุมกลุ่มตัวอย่างการประชุมคณะกรรมการการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลซึ่งเป็นตัวแทนของทุกหน่วยงาน เพื่อให้ได้ข้อมูลที่อิ่มตัวที่สุด การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณเป็นจำนวนความถี่ ข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาแล้วนำเสนอเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับอุบัติเหตุถูกของมีคมที่สัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยขณะปฏิบัติงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83.78 มีอายุระหว่าง 18-30 ปี มากที่สุด ร้อยละ 67.57 วิชาชีพพยาบาลเป็นบุคลากรที่เกิดอุบัติเหตุถูกของมีคมที่สัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งมากที่สุดถึงร้อยละ 62.16 รองลงมาคือผู้ช่วยเหลือคนไข้ ร้อยละ 13.52 และแพทย์ ร้อยละ 10.81 ตามลำดับ สำหรับหน่วยงานที่ปฏิบัติงานห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินเป็นสถานที่ที่บุคลากรได้รับอุบัติเหตุมากที่สุด ร้อยละ 35.14 รองลงมาคือหอผู้ป่วยพิเศษ ร้อยละ 29.73 และหากจำแนกเป็นรายปีงบประมาณ พบว่า ปีงบประมาณ 2551 มีจำนวนครั้งของการเกิดอุบัติเหตุถูกของมีคมที่สัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยมากที่สุดถึง 15 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 5.92 ของบุคลากรทางการแพทย์ทั้งหมด ข้อมูลเกี่ยวกับอุบัติการณ์การเกิดอุบัติเหตุพบว่า ลักษณะงานที่ปฏิบัติการเกิดอุบัติเหตุจากเข็มตำมากที่สุดและจำแนกตามลักษณะของเข็มตำโดยเข็มตำทะลุผ่านปลอกเข็มมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 13.51 และรองลงมาคือสารคัดหลั่งกระเด็นเข้าเยื่อบุตา ร้อยละ 10.81 สำหรับตำแหน่งอวัยวะที่สัมผัสเลือด/สารคัดหลั่งมากที่สุดคือนิ้วชี้มือขวา ร้อยละ 32.43 เมื่อเกิดอุบัติเหตุส่วนใหญ่พบแพทย์ภายใน 2 ชั่วโมง ร้อยละ 75.67 มีเพียงร้อยละ 5.41 ที่ไม่พบแพทย์พบว่า ไม่ได้ตรวจเลือดผู้ป่วยถึงร้อยละ 51.35 และผู้ป่วยมีผล Anti-HIV เป็นบวก 2 ราย กรณีความเสี่ยงน้อยมีค่าตรวจทางห้องปฏิบัติการเป็นเงินจำนวน 1,600 บาท และ 3,700 บาท ในกรณีที่มีความเสี่ยงมาก สำหรับค่ายาป้องกันการติดเชื้อเอดส์และค่าวัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในกรณีอุบัติเหตุที่มีความเสี่ยงมากมีจำนวนเงินมากถึง 10,130 บาท ต่อราย จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ทุกหน่วยงานควรจัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การจัดเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำงานให้เป็นระเบียบเรียบร้อยอยู่เสมอ ในกรณีเกิดอุบัติเหตุให้รีบช่วยเหลือทันที มีคู่มือการป้องกันการติดเชื้อจากอุบัติเหตุถูกของมีคมที่สัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วย กำหนดนโยบายสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลและการดูแลบุคลากรเมื่อเกิดอุบัติเหตุให้ชัดเจน เพิ่มการนิเทศ/ติดตามเรื่องการสวมอุปกรณ์การป้องกันตนเอง และฟื้นฟูความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเมื่อเกิดอุบัติเหตุถูกของมีคมทิ่ม ตำ หรือสัมผัสสารคัดหลั่งทุกปีและมีความรู้หลังการอบรมผ่านเกณฑ์ที่กำหนดth_TH
dc.description.sponsorshipได้รับเงินสนับสนุนจากงบประมาณเงินรายได้ประจำปี 2550en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectบาดแผลและบาดเจ็บ - - การพยาบาลth_TH
dc.subjectบาดแผลและบาดเจ็บ - - ผู้ป่วย - - การพยาบาลth_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา. ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพth_TH
dc.titleการวิเคราะห์การเกิดอุบัติเหตุถูกของมีคมที่สัมผัสเลือดและสิ่งคัดหลั่งของผู้ป่วยจากการปฏิบัติงานของบุคลากรโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา พ.ศ. 2546-2551th_TH
dc.title.alternativeBlood and body fluid contamination shapes accidents of job related analysis in medical personnel of Burapha Hospital in 2003-2008en
dc.typeResearch
dc.year2550
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_040.pdf2.61 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น