กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1100
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorจิรกรณ์ ศิริประเสริฐth
dc.contributor.authorนฤพนธ์ วงศ์จตุรภัทรth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา
dc.date.accessioned2019-03-25T09:01:16Z
dc.date.available2019-03-25T09:01:16Z
dc.date.issued2542
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1100
dc.description.abstractเทคนิคการผ่อนคลายต่าง ๆ ได้แสดงให้เห็นว่า มีผลต่อความสามารถทางด้านร่างกายและจิตใจ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาผลของการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะที่มีต่อกรเปลี่ยนแปลงของภาวะความเครียดด้านร่างกาย (ศึกษาจากค่าเฉลี่ยของอัตราการหายใจ อัตราชีพจร ความดันโลหิต ความจุปอด แลความอ่อนตัว) และด้านจิตใจ (ศึกษาจากค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวัดระดับความวิตกกังวล แบบเอ-สเตท (A-Sate Anxiety test) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหญิงที่อาสาสมัครเข้าร่วมในการวิจัย ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 28 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่มเท่า ๆ กัน คือ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 14 คน นำกลุ่มตัวอย่างไปทำการทดสอบหาค่าระดับความเครียดด้านร่างกายและด้านจิตใจ กลุ่มทดลองทำการฝึกออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะวันละ 1 ชั่วโมง ปรกอบด้วยการอบอุ่นร่างกาย การปฏิบัติท่าอาสนะ และการนวด เป็นเวลา 3 วัน ต่ออาทิตย์ ทำการทดลองทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ แล้วทำการทดสอบระดับความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจอีกครั้งหนึ่งเช่นเดียวกับก่อนการเริ่มต้นทดลอง นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ไปวิเคราะห์หาค่าทางสถิติโดยใช้ T-Test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดสอบภาวะความเครียดด้านร่างกายและจิตใจก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดลองภาวะความเครียดด้านร่างกายและจิตใจระหว่างก่อนการทดลองแลภายหลังการทดลองของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่าการออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะมีผลต่อระดับความเครียดทั้งด้านร่างกายและจิตใจ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ทำการฝึกออกกำลังกายแบบหะฐะโยคะมีความอ่อนตัว (t = 3.31,p < .01) และมีระดับความเครียด (t = 4.36, p < .001) แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนในด้าน อัตราการหายใจ อัตราชีพจร และความดันโลหิต ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระดับความเครียดทางด้านร่างกายและจิตใจภายในกลุ่มของกลุ่มตัวอย่างทั้งสองกลุ่มก่อนและหลังการทดลอง ปรากฏว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการทดสอบความจุปอด ความอ่อนตัว และระดับความเครียด มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น ผลจากการวิจัยจึงถูกนำมาอภิปรายว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการเพิ่มความสามารถของร่างกายให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไรth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectการบริหารth_TH
dc.subjectโยคะ (กายบริหาร)th_TH
dc.titleผลของการออกกำลังกายแบบปะฐะโยคะที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง ของภาวะความเครียดด้านร่างกายและจิตใจth_TH
dc.title.alternativeThe Effects of Hatha Yaga Exercise on Physical and Mental Stress Reductionen
dc.typeResearch
dc.year2542
dc.description.abstractalternativeRelaxation techniques have showed some effectiveness on physical and mental performance. The purpose of this study was to determine the effects of the Hatha Yoga technique on physical stress reduction (breathing rate, pulse rate, blood pressure, lung capacity and flexibility) and mental stress reduction (stress levels using A-State Anxiety test). A total of 28 female college students were randomly assigned to either a treatment or a control group. Subjects were asked o complete an A-State Anxiety test and their physical stress reduction was tested prior to the experiment. Subjects in the treatment group then practiced Hatha Yoga for one hour (including warm-up, main practice, and massage) three days a week (8 weeks). T-Test was conducted within each group o examine changes in the levels of physical and mental stress prior to and after he experimental Hatha Yoga treatment. T-Tests were also conducted between both groups. The results revealed that Hatha Yoga had partial effects on both physical and mental stress levels. In fact, subjects who practiced Hatha Yoga showed a significant difference from the control group in flexibility (t = 3.31, p < .01) and levels of stress (t = 4.36, p < .001). Breathing rate, pulse rate and blood pressure showed no statistically significant differences. When pre-and post test data of both groups were analyzed, some improvements were found in lung capacity, flexibility performance and stress levels. The finding will be discussed in relation to performance enhancement.en
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น