กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1092
ชื่อเรื่อง: การพัฒนารูปแบบการดูแลภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุ (ปีที่ 1)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สมชาย ยงศิริ
พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
สุริยา โปร่งน้ำใจ
เพ็ชรงาม ไชยวานิช
อรพิณ ธนวินนานนท์
สุกัญญา เจริญวัฒนะ
ผกาพรรณ ดินชูไท
ศิริพร ตั้งจาตุรนต์รัศมี
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสหเวชศาสตร์
คำสำคัญ: คุณภาพชีวิต
ผู้สูงอายุ - - โภชนาการ
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2555
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: แนวคิด: ภาวะทุพลโภชนาการมีผลต่อคุณภาพชีวิตที่แย่ลง การดูแลภาวะโภชนาการอาจจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนดีขึ้นได้ วัตถุประสงค์: เพื่อทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตกับภาวะโภชนาการ ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตและภาวะโภชนาการ และนำไปสู่การสร้างรูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชน วิธีวิจัย: ศึกษาวิจัยแบบตัดขวางในกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในชุมชนเทศบาลแสนสุข ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ ถึง เมษายน พ.ศ. 2556 เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์กรอนามัยโลกฉบับย่อ (WHOQOL-BREF) แบบประเมินภาวะโภชนาการ (mini nutritional assessment) วัดสัดส่วนของร่างกายด้วยเครื่องมือ bioelectrical impedance analysis (BCM) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม R version 3.01 กำหนดให้ค่าความเชื่อมั่น p<0.05 ถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างจำนวน 239 ราย อายุเฉลี่ย 67.3 ± 5.64 ปี ร้อยละ 65.27 มีคุณภาพชีวิตอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ร้อยละ 64.44 มี MNA อยู่ในเกณฑ์ปกติ กลุ่มที่มี MNA ปกติ มีคุณภาพชีวิตโดยรวมดีกว่า กลุ่มที่มี MNA ผิดปกติอย่างมีนัยสำคัญ (93.01 ± 10.61 vs. 89.69 ± 9.71, p=0.016 ) กลุ่มที่ออกกำลังกาย 5-7 วันสัปดาห์ มี MNA ดีกว่า กลุ่มที่ออกกำลังกาย 1-4 วัน/สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญ (25.34 ± 2.80 vs. 24.46 ± 3.05, p=0.03) กลุ่มรายได้ที่มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน มีคุณภาพชีวิตโดยรวม ดีกว่า กลุ่มที่มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาทต่อเดือน อย่างมีนัยสำคัญ (94.60 ± 10.41 vs. 90.38 ± 8.72 p=0.01) MNA มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทุกๆ มิติอย่างมีนัยสำคัญ (r=0.379 p<0.001) ผลการตรวจด้วยเครื่อง BCM มีความสัมพันธ์กับผลการวัด MNA แต่กลับไม่พบความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตแต่อย่างใด (r=0.11 p=0.165) สรุป: ภาวะโภชนาการมีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตทุกๆ มิติในระดับปานกลาง กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าคือ กลุ่มที่ออกกำลังกายมากกว่า 4 ครั้งต่อสัปดาห์ และกลุ่มที่มีรายได้มากกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ผลการตรวจด้วยเครื่อง BCM มีความสัมพันธ์กับผลการวัด MNA แต่ไม่พบความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1092
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_143.pdf3.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น