กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1070
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอนามัย เทศกะทึกth
dc.contributor.authorทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุขth
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2019-03-25T09:01:14Z
dc.date.available2019-03-25T09:01:14Z
dc.date.issued2551
dc.identifier.urihttp://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1070
dc.description.abstractการวิจัยนี้มัวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจ อันเนื่องมาจากการรับสัมผัสฝุ่นไม้ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตผลผลิตจากไม้ และเฟอร์นิเจอร์ในภาคตะวันออก เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสัมภาษณ์ เครื่อง IOM sampler และเครื่องตรวจสมรรถภาพปอด ประชากรคือพนักงานจำนวน 685 คน จาก 8 โรงงาน การเก็บข้อมูลโดยการประเมินการสัมผัสฝุ่นไม้จากการทำงาน โดยเก็บตัวอย่างฝุ่นชิดที่เข้าสู่ทางเดินหายใจได้ (Inhalable Dust) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถดถอยแบบพหุคูณ และวิเคราะห์ตัวแปรเชิงพหุ เพื่อวิเคราะห์หาผลกระทบของตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า พนักงานเป็นหญิง 369 คน (53.6%) ชาย 316 คน (45.9%) มีอายุเฉลี่ย 32 ปี ( ระหว่าง 18-60ปี ) จากการสัมภาษณ์พบว่ามีอาการไอ ตอนกลางวันหรือกลางคืนจำนวน 131 คน (19%) มีเสมหะเป็นประจำ จำนวน 131 คน (19%) เคยรู้สึกแน่นหน้าอกหายใจไม่สะดวก จำนวน 299 คน (43.4%) เมื่อเดินเร็ว รีบ หรือวิ่ง จะรู้สึกเหนื่อยง่าย หายใจไม่เต็มปอด จำนวน 169 คน (24.5%) เวลาเดินบนพื้นราบ จะมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าคนอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน จำนวน 103 คน (14.9%) ผลการตรวจวัดความเข้มข้นฝุ่นไม้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 (+/2.66) มก./ลบ.ม. ค่าต่ำสุด 1.15 มก./ลบ.ม.และค่าสูงสุดเท่ากับ 13.67 มก./ลบ.ม.ผลการตรวจสมรรถภาพปอด พบค่าเฉลี่ยของ Force Vital Capacity (FVC) เท่ากับ 2.78 ลิตร ค่า Forced Expiratory Volume Time (FEV1) เท่ากับ 2.41 ลิตร และ ค่าเฉลี่ย FEV1/FVC เท่ากับ 87.05 ผลการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณพบว่า เพศ อายุ และความเข้มข้นของฝุ่น เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการทำนายค่า FVC (R=.694 , R square=.48) โดยที่เพศ อายุ และความเข้มข้นของฝุ่นเฉลี่ย มีความสัมพันธ์ต่อค่า FVC ในทิศทางตรงข้ามกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) พบว่าเพศ อายุ ความเข้มข้นของฝุ่นเฉลี่ยเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการทำนายค่า FVE1 (R=.672 , R square=.452) โดยที่เพศ อายุ และความเข้มข้นฝุ่นเฉลี่ย มีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้ามกับ FEV1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) และพบว่าเพศและอายุเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลต่อการทำนายค่า FEV1/FVC (R=.141 , R square=0.02) โดยที่อายุมีความสัมพันธ์ในทางตรงกันข้ามกับค่า FEV1/FVC % แต่เพศมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับค่า FEV1/FVC FEV1/FVC อย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) การวิเคราะห์ตัวแปรเชิงพหุ พบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับอาการไอเมื่อตื่นนอนตอนเช้า และมีความสัมพันธ์กับอาการไอตอนกลางวันและกลางคืน (p<0.05) ส่วนอายุมีความสัมพันธ์กับการไอตอนกลางวันและกลางคืนมากกว่า 3 เดือน (p.<0.05) และกลุ่มที่รับสัมผัสความเข้มข้นฝุ่นมาก มีความสัมพันธ์กับการไอตอนกลางวันและกลางคืนมากกว่า 3 เดือน (p.<0.05) ตามลำดับ นอกจากนั้นพบว่า เพศมีความสัมพันธ์กับอาการมีเสมหะตอนตื่นนอน และการมีเสมหะตอนกลางวันและกลางคืนอยู่เสมอ (p<.05) และมีความสัมพันธ์กับอาการเหนื่อย เมื่อเดินบนพื้นราบ (p<.05) และอาการหายใจดังวี้ด (p<.05) ส่วนระยะเวลาในการทำงานพบว่า การทำงานนานกว่า มีความสัมพันธ์กับอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก (p<.05) และการใช้หน้ากากป้องกันฝุ่นในทิศทางตรงกันข้ามกับการไอตอนกลางวันและกลางคืน (p<.05) ตามลำดับ The aim of this study is to assess the influence of factors on respiratory function and respiratory symptoms among furniture workers in the Eastern region of Thailand. The instruments used to collect data were a questionnaire, IOM sampler, and spirometry. Sample size based for this cross sectional study was 685 workers from 8 factories. Multiple regression and multivariate logistic regression were used to calculate the effects of the factors. Three hundred sixty nine male (53.6%) and 316 female (45.9%); mean age 32 year , 18-60 year ) were interviewed. The main clinical manifestation included 131 cases of coughing during the day time or at a night time (19%) , phlegm in 131 cases chest tightness in 299 cases (43.3) (19%) , weakness in when walking on the flat area in 103 cases (14.9%). The measurements of wood dust averaged 4.19 +/2.66 mg/m3 (min=1.15 mg/m3 and max=13.67 mg/m3). The mean of Force Vital Capacity (FVC) , Force Expiratory Volume time (FVE1), and FEV1/FVC % were 2.78 Lit, 2.41 Lit, and 87.05, respectively In multivariate models decline in FVC was significantly related to sex, age, wood concentration (R=.694, R square=.48,p<.001) and similar effects were observed for FVC., Decline in FVE1 was also significantly related to sex, age, wood dust concentration (R=.672, R square= .452, p<.001). Declines in FEV1/FVC were significantly related to age, but increase in FEV1/FVC was also significantly related to sex (R=141, R square= 0.02, p<.05) In logistic regression, there was evident association between sex and coughing symptom in the morning and coughing at day, and night (p<.05). Age, and wood dust concentration were associated with coughing at day and night > 3 months (p<.05), respectively. Sex was associated with phlegm when walking up, and during the day, and at night, and associated with weakness when walking at the flat area. Gender was also associated with wheezing symptom (p<.05). Year of work and longer work periods were significantly associated with shortnees of breath (p<.05), and wearing cloth mask was negatively associated with coughing at day and night (p<.05).th_TH
dc.description.sponsorshipได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน มหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2550-2551en
dc.language.isothth_TH
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาth_TH
dc.subjectความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรมth_TH
dc.subjectฝุ่นth_TH
dc.subjectอาชีวอนามัยth_TH
dc.subjectสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์th_TH
dc.titleปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพในระบบทางเดินหายใจในกลุ่มพนักงานโรงงานอุตสาหกรรมผลิตผลผลิตจากไม้และเฟอร์นิเจอร์ในเขตภาคตะวันออกth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting respiratory health in wood product and furniture manufacturing factory workers in eastern regionen
dc.typeResearchth_TH
dc.year2551
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น