กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1053
ชื่อเรื่อง: การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลตอความเครียดของนิสิตแพทย์ คณะแพทย์ศาสตร์ ชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2552
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors effecting on stress in medical students, faculty of Medicine ,Burapha University
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ผกาพรรณ ดินชูไท
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
คำสำคัญ: ความเครียด
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: รูปแบบการวิจัย : พรรณนา วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาวิจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1,2 และ 3 คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2552 ประชากรกลุ่มตัวอย่าง : ประชากรที่ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1,2 และ 3 คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2552 จำนวนชั้นปีละ 32 คน รวมทั้งหมด 96 คน วิธีการวิจัย : ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความเครียดที่เป็นที่อ้างอิงมาจากกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และมหาวิทยาลัยสารคาม เพื่อใช้สอบถามนิสิตแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรทั้งหมด โดยแบบสอบถามนี้แบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังต่อไปนี้ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสถานภาพทั่วไปของนิสิต ตอนที่ 2 เป็นแบบวัดความเครียดสวนปรุง (Suanprung Stree Test-20,SPST-20) ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามสาเหตุของความเครียด ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการเรียน ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย ด้านส่วนตัวและสังคม การวิเคราะห์: ผู้วิจัยนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาวิเคราะห์ข้อมูลตามระเบียบวิธีทางสถิติ ดังนี้ 1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์โดยหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ การแจกแจงความถี และค่าร้อยละ 2. สาเหตุของความเครียด วามเครียดจำแนกรายข้อ รายด้าน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3.วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยการใช้สถิติคำนวณค่าสัมฤทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) สรุปผลการวิจัย : สาเหตุของความเครียดของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1, 2 และ 3 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เมื่อพิจารณาตามรายข้อ และรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านการเรียน 2)ด้านสภาพแวดล้อมภายในมหาวิทยาลัย และ 3)ด้านมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบทั้ง 3 ด้านมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำ เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า 2 ใน 3 ข้อแรกที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดเป็นข้อคำถามที่อยู่ในด้านการเรียน ได้แก่ ข้อที่ 1 เตรียมตัวไม่พร้อมก่อนสอบ และ ข้อที่ 2 เรียนไม่เข้าใจ ทำให้อึดอัดและกังวลเรื่องผลการเรียนและอันดับที่ 3 คือ เป็นข้อคำถามที่อยู่ในด้านส่วนตัวและสังคม คือข้อที่ 4 เกิดความกลัวว่าสิ่งที่คาดหวังยังไม่สำเร็จ
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1053
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม ขนาดรูปแบบ 
2566_059.pdf2.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น