กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1042
ชื่อเรื่อง: การวิจัยประเมินผลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation research for improving the management system of quality of work life : MSQWL
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุนันทา โอศิริ
สุรพล นธการกิจกุล
ภัทระ แสนไชยสุริยา
แสงอรุณ อิสระมาลัย
ศาสตรี เสาวคนธ์
จิตรพรรณ ภูษาภักดีภพ
ยุวดี รอดจากภัย
ดนัย บวรเกียรติกุล
ประยุกต์ เดชสุทธิกร
ประภา นันทวรศิลป์
อรพิน รังษีสาคร
ศิริพร จันทร์ฉาย
เอกลักษณ์ จุ่นเจริญ
จุไรรัตน์ ธนเสถียร
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร
คำสำคัญ: ประสิทธิภาพการทำงาน
สาขาการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: บทสรุปสำหรับผู้บริหาร โครงการพัฒนาระบบมาตรฐานคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการ ระยะที่ 3 มีกรขยายผลจากเดิมทั้งด้านจำนวนสถานประกอบการและพื้นที่ดำเนินการ คือมีสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการ 93 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นประมาณ 5 เท่าและมีการขยายพื้นที่ไปทั่วประเทศทั้ง 5 ภาค โดยการสร้างเครือข่ายระดับภาค ที่เป็นความร่วมมือที่ต่อเนื่องระหว่าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมภาค สภาอุตสาหกรรมจังหัด ที่ปรึกษาระดับภาค และสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเครือข่ายภูมิภาค (ภาคตะวันออก, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ, และภาคใต้) การวิจัยปะเมินผลโครงการในระยะที่ 3 นี้จึงเป็นกรศึกษาติดตามผลการนำระบบนี้ไปใช้ในสถานประกอบการในแต่ละพื้นที่ และประโยชน์วงกว้างในการพัฒนาคุณภาพชีวิตแก่คนทำงาน ผลการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ จากแบบสอบถามทั้งหมด 345 คน เก็บข้อมูลจาก ที่ปรึกษาของสถานประกอบการ เจ้าของ/ผู้บริหารสถานประกอบการ ผู้ดำเนินการ และพนักงานในสถานประกอบการ ผลการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพในสถานประกอบการ ได้เลือกสถานประกอบการที่ไม่ใช่โรงงาน 8 แห่ง และสถานประกอบการที่เป็นโรงงาน 2 แห่ง รวมเป็น 10 แห่ง โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานในสถานประกอบการยังคงเป็นโครงการใหม่ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย การจัดทำระบบและรูปแบบการประเมินยังอยู่ในขั้นตอนของการเรียนรู้และทดลองทำ ซึ่งเริ่มชัดเจนและเป็นรูปร่างขึ้นพอสมควร และมีกาขยายความร่วมมือในลักษณะเครือข่ายระดับภาค จำเป็นต้องอาศัยเวลาและกำลังด้านวิชาการในการพัฒนากฎเกณฑ์มาตรฐานต่อไปอีกในระยะยาว การดำเนินโครงการระยะที่ 3 ได้สร้างที่ปรึกษาสถานประกอบการ กระจายอยู่ในทั่วทุกภูมิภาคจำนวน 40 คนที่สามารถพัฒนาสู้การเป็นที่ปรึกษาที่มีคุณภาพได้ จากทั้งส่วนราชการและเอกชน และสามารถพัฒนาขยายเครือข่ายที่ปรึกษาให้เป็นกลุ่ม/องค์กรที่เข้มแข็ง ที่ปรึกษาส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเข้าร่วมโครงการนี้ เพื่อเสริมสร้างความรู้และประสบการณ์ในการทำงาน และตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการคุณภาพชีวิตของคนทำงาน ส่วนใหญ่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ เห็นว่ามีประโยชน์ สามารถขยายผลได้ โดยตนได้มีบทบาทในการให้คำปรึกษา แต่สภาพ ปัญหาและอุปสรรค คือ ความรู้ ความชัดเจนในการให้คำปรึกษาอาจมีน้อยจึงไม่เพียงพอต่อการให้คำปรึกษาต่อสถานประกอบการ รวมถึงระยะเวลาดำเนินการน้อยเกินไป สถานประกอบการที่ไม่มีประสบการณ์ระบบมาตรฐานมาก่อนอาจไม่สามารถทำได้ตามเวลากำหนด สถานประกอบกาที่เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงการ แต่ยังเห็นว่ามาตรฐานมีความเป็นนามธรรมสูง เจ้าของ/ผู้บริหารมีส่วนร่วมทั้งในด้านการติดตาม สนับสนุนโครงการและบางส่วนได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆด้วย ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 73.6) มีความเห็นว่าที่ปรึกษามีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานและโครงการฯดี แต่ก็มีเพียง ร้อยละ 36.8 เท่านั้นที่เห็นว่าการให้คำปรึกษาของที่ปรึกษามีความชัดเจนดี การทำงานของทีมโครงการ ขากการประสานงาน และการสื่อสารภายในองค์กรยังไม่ดีพอ การสนับสนุนผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยผลักดันให้สถานประกอบการที่ได้รับการรับรองสามารถลดหย่อนภาษี (ร้อยละ 81.6) และสามารถลดเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม (ร้อยละ 92.1) ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้นในหลกหลายวิธีการอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ จะช่วยขยายผลโครงการฯ นี้ได้ ผู้ดำเนินการในสถานประกอบการส่วนใหญ่เข้าใจวัตถุประสงค์ของโครงกรเป็นอย่างดี (ร้อยละ 93.0) แต่คิดว่ามาตรฐานระบบยังไม่ชัดเจน (ร้อยละ 65.1) สามารถดำเนินกิจกรรมตามข้อกำหนดของมาตรฐานระบบได้ (ร้อยละ 86.0) ปัญหาอุปสรรค คือยังไม่มีแนวทางหรือความชัดเจนในการปฏิบัติตามมาตรฐานของระบบ และระยะเวลาในการดำเนินการสั้น การดำเนินกิจกรรมได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารมากพอสมควร การให้คำแนะนำจากที่ปรึกษายังไม่ชัดเจนเท่าที่ควรข้อเสนอแนะการทำให้มาตรฐานมีความยั่งยืน ควรทำอย่างสม่ำเสมอและมีการทบทวนตามระยะเวลามีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สถานประกอบการส่วนใหญ่มีกิจกรรมหรือโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 87.9 พนักงานส่วนใหญ่เข้าร่วมกิจกรรม/ต่อโครงการร้อยละ 93.3 และนำกิจกรรม/โรงการไปเผยแพร่ต่อผู้อื่น ร้อยละ 80.3 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรม/โครงการร้อยละ 89.3 กิจกรรม/โครงกรทำให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีขึ้นต่อผู้ร่วมงานร้อยละ 96.4 หลังจากเข้าร่วมโครงการรู้สึกว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงขึ้น ร้อยละ 80.4 รู้สึกว่าสุขภาพจิตดีขึ้นร้อยละ 84.4 รู้สึกว่าสังคมดีขึ้นร้อยละ 85.7 ได้รับการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ร้อยละ 87.5 สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ร้อยละ 88.4 ทำให้เกิดสุขภาพที่ดี ทั้งในมิติของกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ การปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการทำงานเอื้อในการทำงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สิ่งสำคัญให้พนักงานสามารถนำแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตไปใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนในครอบครัว คือการได้ร่วมกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง เมื่อปฏิบัติแล้วเห็นว่าเกิดประโยชน์และเป็นผลดีต่อตนและครอบครัว ประโยชน์จาการทำได้จริง การำดำเนินโรงการในระยะที่ 3 มีสถานประกอบการที่ไม่ใช่โรงงานเข้าร่วมโครงการหลายแห่ง ซึ่งสามารถดำเนินโครงการนี้ได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์ โดยปัจจัยสำคัญคือ สถานประกอบการส่วนหนึ่งมีต้นทุนเดิม คือ มีกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิต หรือเคยทำระบบมาตรฐานอื่นๆ เจ้าของสถานประกอบการ/ผู้บริหาร มีความตั้งใจ และมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง พนักงานมีส่วนร่วมการทำแผน/โครงการในการจัดกิจกรรม ตลอดจนมีเป้าหมายที่ชัดเจน ทั้งนี้สามารถใช้เป็นต้นแบบและนำไปขยายผลในสถานประกอบการประเภทเดียวกันในเครือข่ายได้ การดำเนินโครงการพบว่ามีสถานประกอบการที่การขอถอนตัว และขอไม่ยอมรับการประเมินในระยะเวลาตามที่กำหนด โดยมีเหตุผลด้านความไม่มั่นคงของธุรกิจ ย้ายสถานประกอบการ การเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบโครงการ ล้าจากการกระทำระบบมาตรฐานอื่น ที่ปรึกษาไม่ชัดเจน ไม่เข้าไป/ไม่สามารถตอบคำถามได้ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการประเมิน และไม่เห็นประโยชน์ชัดเจนของการประเมิน และเริ่มงานช้าเวลาไม่พอจึงมีความก้าวหน้าน้อยเกรงจะไม่ผ่านการประเมิน ประโยชน์ที่สถานประกอบการได้รับจากการเข้าร่วมโครงการคือ การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเจ้าของ/ผู้บริหารสถานประกอบการและพนักงาน เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์กร เกิดการเปลี่ยนแปลง เรียนรู้ มีกิจกรรมร่วมกัน เกิดความเป็นชุมชนในสถานประกอบการมากขึ้น นอกจากพนักงานมีคุณภาพชีวิตดีแล้วยังมีความรับผิดชอบมากขึ้น และมีส่วนร่วมดูแลสถานประกอบการ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและรักษาผลประโยชน์ของบริษัท เกิดการพัฒนาศักยภาพของพนักงานในสถานประกอบการ ในเรื่องต่างๆ มีการทำงานเป็นทีม มีจิตสำนึกต่อองค์กร ซึ่งส่งผลต่อผลิตผลของสถานประกอบการทั้งในด้านปริมาณและคุภาพด้วย ข้อเสนอแนะการคัดเลือกสถานประกอบการ ควรเน้นด้านความพร้อมจองผู้บริการและบุคลากร ประสบการณ์การทำงานมาตรฐาน โดยต้องชี้แจงโครงการฯ ให้ครบถ้วนตามกำหนด และมีการปรับระยะเวลาได้ตามความเหมาะสม ในส่วนของมาตรฐานและข้อกำหนด ควรมีคู่มือปฏิบัติงานคู่มือตรวจสอบประเมิน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในขั้นตอนปฏิบัติของทุกฝ่าย การสร้างเครือข่ายและคณะทำงานในระดับภูมิภาคจะต้องมีระบบการบริหารจัดการที่ไปในทิศทางเดียวกัน การเตรียมทีมที่ปรึกษา การประชุมและอบรมควรมีรูปแบบที่ชัดเจน มีการสอบมาตรฐานที่ปรึกษา และผู้ตรวจประเมินภายในและภายนอก ให้มีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับ การแบ่งหน้าที่การดูแลรับผิดชอบแต่ละส่วนอย่างชัดเจนและสอดคล้องกับการบริหารจัดการของเครือข่ายระดับภูมิภาค โดยเน้นประสิทธิภาพการสื่อสาร ให้รับรู้การดำเนินการอย่างใกล้เคียงกัน ควรพัฒนาการนำระบบบริหารคุณภาพชีวิตการทำงาน MS-QWL ไปเป็นมาตรฐานของการทำงานในเชิงกฎหมาย และโครงสร้างการขยายผลการดำเนินงานในระยะต่อไป ให้เป็นนโยบายของรัฐบาลหรือกระทรวงหรือกรมกองที่ดูแลรับผิดชอบและนำเอาระบบบริหารคุณภาพชีวิตการทงาน ไปพัฒนาหรือผลักดันในเชิงนโยบายต่อไป ควรผลักดันให้เกิดโครงการสร้างเชิงระบบสถาบันที่รับผิดชอบระบบมาตรฐานนี้ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อเนื่องในการพัฒนาระบบ รวมทั้งสร้างการยอมรับในสังคม และขับเคลื่อนในเชิงนโยบายระดับชาติและระดับสากลต่อไป
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/1042
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น