กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10251
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorนฤมล ธีระรังสิกุล
dc.contributor.advisorศิริยุพา สนั่นเรืองศักดิ์
dc.contributor.authorจิดาภา พิกุลงาม
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:57:03Z
dc.date.available2023-09-18T07:57:03Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10251
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstractมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมักรู้สึกไม่พร้อม วิตกกังวลและไม่มั่นใจในการดูแลทารกในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน ทำให้เกิดปัญหาด้านพฤติกรรมการดูแลทารกและน้ำหนักตัวทารกไม่เพิ่มขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านต่อพฤติกรรมการดูแลทารกและน้ำหนักตัวทารกที่เกิดก่อนกำหนด กลุ่มตัวอย่างเป็นมารดาครรภ์แรกและทารกเกิดก่อนกำหนดที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จำนวน 30 รายคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนดโดยจัดเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านจำนวน 8 ครั้งครั้งละ 30-45 นาที ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติของโรงพยาบาลเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่าน และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนด ซึ่งมีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .88 และค่าความเชื่อมั่น โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลองมารดากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดสูงกว่ามารดากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t 28= 4.71, p< .001) แต่ผลต่างค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวของทารกภายหลังจำหน่าย 1 เดือน ระหว่างทารกกลุ่มควบคุมและทารกกลุ่มทดลองมีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ(p> .05) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่าน ทำให้มารดามีพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดที่บ้านดีขึ้นและเหมาะสม ดังนั้น พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ควรนำโปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านไปประยุกต์ใช้ในการให้การพยาบาลมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมารดาและบุตร
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเด็ก
dc.subjectมารดาและทารก
dc.titleผลของโปรแกรมการเตรียมมารดาในระยะเปลี่ยนผ่านต่อพฤติกรรมการดูแลทารกและน้ำหนักตัวทารกที่เกิดก่อนกำหนด
dc.title.alternativeEffects of mternl trnsition preprtion progrm on infnt cre behviors nd preterm infnts’ body weight
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeMothers of premature infants often feel unprepared, anxious, and less confident in caring for their babies during the transition from hospital to home. It can lead to less-than-optimal infant care behaviors and low infant body weight. The purpose of this quasi-experimental research was to examine the effects of a hospital-to-home maternal preparation program on infant care behaviors and body weight of preterm infants. The sample was 30 primigravida mothers and their preterm infants in the Thammasat University Hospital. The sample was divided equally into experimental and control groups. The control group received routine care in the hospital. The experimental group received, in addition, the transition preparation program in eight 30-45 minute sessions. The instrument was the maternal transition preparation program and maternal behaviour in caring preterm infant questionnaire. The content validity index was .88; Cronbachs’s alpha was .89. Data were analyzed using descriptive statistics and t-tests. Post-test results for maternal caring of premature infant behaviors revealed that the experimental group mean score was significantly higher the control group’s (p< .001). However, for body weight, the mean scores in the experimental and control groups were not significantly different (p > .05). The findings indicate that the maternal transition preparation program for premature infants made a positive, significant difference, although it had no significant impact on infant body weight. Nurses and health care professionals should use the maternal transition preparation program for mothers of preterm infants while the infants are in the neonatal unit.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเด็ก
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60910038.pdf2.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น