กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10236
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
dc.contributor.advisorนิภา มหารัชพงศ์
dc.contributor.authorมยุรินทร์ เหล่ารุจิสวัสดิ์
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:56:55Z
dc.date.available2023-09-18T07:56:55Z
dc.date.issued2565
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10236
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2565
dc.description.abstractโรคพิษสุนัขบ้าเป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสประจำถิ่นที่มีความรุนแรงในประเทศไทย พบว่า ร้อยละ 40 ของผู้ติดเชื้อมีอายุต่ำกว่า 15 ปี จุดมุ่งหมายของการศึกษาในครั้งนี้ คือ เพื่อพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยมีการแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะสำรวจเป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง มีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ใน 7 โรงเรียนในจังหวัดชลบุรี จำนวน 287 คนโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการสำรวจ ระยะที่ 2 ระยะสร้างพัฒนาและศึกษาผลของรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขเป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ในจังหวัดชลบุรีสองกลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทำกิจกรรม และกลุ่มเปรียบเทียบ จำนวน 23 และ 22 คน ตามลำดับ แล้วใช้แบบสอบถามวัดผล 3 ครั้ง ได้แก่ ก่อนการทำกิจกรรม หลังการทำกิจกรรมและระยะติดตามผลวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้จำนวนร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน PLSSEM independent T-test และ Repeated Measures ANOVA ผลการศึกษาในระยะที่ 1 พบว่า ระดับความรู้ (β = 0.129, se = 0.057, p < 0.005) ระดับทัศนคติ (β = 0.180, se = 0.052, p < 0.005) และแรงจูงใจในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (β = 0.188, se =0.054 p < 0.005) มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษาในระยะที่ 2 พบว่า ในระยะหลังทำกิจกรรม นักเรียนในกลุ่มกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าแรงจูงใจในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการรับรู้ความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่า กลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และมีคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรความเชื่อมั่นในประสิทธิผลของการตอบสนองพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.1 ส่วนในระยะติดตามผล พบว่า นักเรียนในกลุ่มกิจกรรมมีคะแนนเฉลี่ยของตัวแปรแรงจูงใจในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและการรับรู้ความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้ามากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 นอกจากนั้น ยังพบว่า นักเรียนในกลุ่มทำกิจกรรมมีระดับคะแนนเฉลี่ยของความรู้เกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้าแรงจูงใจในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าการรับรู้ความรุนแรงของโรคพิษสุนัขบ้าและความเชื่อมั่นในประสิทธิผลของการตอบสนองพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทั้ง 3 ระยะ (ก่อนการเข้าร่วมกิจกรรม หลังการเข้าร่วมกิจกรรม และระยะติดตามผล) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติอย่างน้อย 1 คู่ที่ F = 3.192, df = 2, p < 0.1 F = 7.334, df = 2, p < 0.05 F = 5.25, df = 2, p < 0.05 และ F = 6.266, df = 2, p < 0.05 ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ได้พัฒนาขึ้นนั้น ช่วยให้นักเรียนมีแรงจูงใจในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าโดยเฉพาะด้านการรับรู้ความรุนแรงและความเชื่อมั่นในประสิทธิผลของการตอบสนองพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าสูงขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยดังกล่าวที่ เพิ่มขึ้นนั้น มีความคงทนถึงแม้ระยะเวลาจะผ่านไปแล้ว 4 สัปดาห์ก็ตาม จึงสามารถสรุปได้ว่า กิจกรรมที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้งานได้จริง เป็นประโยชน์และสามารถแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ยังพบว่า ควรค่าที่จะศึกษาและพัฒนากิจกรรมในรูปแบบนี้เพิ่มเติมในอนาคตโดยเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้รูปแบบออนไลน์ผ่านอินเตอร์เน็ตร่วมกับการเรียนในชั้นเรียน
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
dc.subjectโรคพิษสุนัขบ้า
dc.subjectโรคพิษสุนัขบ้า -- การป้องกันและควบคุม
dc.titleการพัฒนารูปแบบกิจกรรมส่งเสริมพฤติกรรมการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนภาคตะวันออกประเทศไทย
dc.title.alternativeDevelopment of ctivity model for promoting rbies prevention behviors of elementry school students in the estern prt of thilnd
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeRabies is an endemic fatal viral zoonosis. In Thailand, 40 percent of those infected are under age 15. This study aims to develop an activity model targeting young people for Rabies prevention. This study was divided into two (2) phases. The first phase utilized survey methods as cross-sectional research. The sample group was two hundred eighty-seven (287) grade four students from seven (7) schools in Chonburi using questionnaires as research instruments. The second phase was the creation, development, and study of the effect of a Rabies prevention activity model. The sample group was utilized in quasi-experimental research. The two (2) groups were the activity group and the comparison group of twenty-three (23) and twenty-two (22), respectively. The results were measured 3 times: before activity, after activity, and follow-up. The number, percentage, mean, standard deviation, PLS-SEM, t-test independent, and Repeated measures ANOVA were implemented to analyze the results. The results of the first phase found that the level of Rabies knowledge (β = 0.129, se = 0.057, p< 0.005) Rabies attitude (β = 0.180, se = 0.052, p< 0.005) and Rabies protection motivation (β = 0.188, se = 0.054 p< 0.005) showed significant positive correlations with Rabies prevention behaviors. The results of the second phase study found that after the activity period students in the activity group had mean scores that had greater statistical significance than the comparison group for Rabies knowledge (K), Rabies prevention motivation (PMT), and Rabies perceived severity (PS) at the 0.05 significance level. Furthermore, the mean score of Rabies response efficacy (RE) was also significantly higher than the 0.1 level. And in the follow-up period, the student in the activity group had significantly higher mean scores of PMT and PS than the comparison group at a 95 percent confidence level. Lastly, all three (3) phases (before activity, after activity and follow-up) discovered that students’ responses in the activity group had means of K, PMT, PS, and RE with statistically significant differences between the pairs of means at F = 3.192, df = 2, p < 0.1;F = 7.334, df = 2, p < 0.05;F = 5.25, df = 2, p < 0.05 and F = 6.266, df = 2, p < 0.05, respectively. The results indicate that this study model can help students achieve higher Rabies prevention motivation, Rabies perceived severity and Rabies response efficacy. Moreover, those variable scores are also retained at the same levels after the experiment 4 weeks. As a result, these findings demonstrated that the study model was practical, useful, and revealing. Further study and development of Rabies prevention programs for young people with an emphasis on both online and onsite education would be invaluable.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60810053.pdf5.77 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น