กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10218
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors relted to helth litercy for hypertension prevention mong t risk group in ndee district, prchinburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พรนภา หอมสินธุ์
ชนัญชิดาดุษฎี ทูลศิริ
สุภาพร มงคลหมู่
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: ความดันเลือดสูง -- การป้องกันและควบคุม
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
ความดันเลือดสูง
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: โรคความดันโลหิตสูง เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ถ้ากลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคจะสามารถลดการเกิดโรคความโลหิตสูงได้การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงใน อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 15-59 ปี ในอำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 214 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ข้อมูลทั่วไป แบบสัมภาษณ์ความเครียด แบบสัมภาษณ์เจตคติต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงแบบสัมภาษณ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเสี่ยงและผู้ให้บริการแบบสัมภาษณ์การ เข้าถึงและใช้บริการทางสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2564 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ พรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงภาพรวมอยู่ในระดับไม่ดี (M = 87.23, SD = 21.92) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ เพศ (r = .138, p< .05) รายได้ (r = .202, p< .05) ความเครียด (r= .427, p< .01) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและผู้ให้บริการ (r= .242, p< .01) และการเข้าถึงและใช้บริการสุขภาพ (r= .242, p< .01) ส่วน อายุ ระดับการศึกษาและเจตคติต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงไม่มีความสัมพันธ์กับความรอบรู้ด้านสุขภาพใน การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของกลุ่มเสี่ยงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องควรนำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากิจกรรมเพื่อส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงโดยเน้นเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเสี่ยงและผู้ให้บริการ รวมทั้งการเข้าถึงและใช้บริการสุขภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10218
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61920077.pdf2.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น