กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10216
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
dc.contributor.advisorทนงศักดิ์ ยิ่งรัตนสุข
dc.contributor.authorสุรวิทย์ นันตะพร
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:56:50Z
dc.date.available2023-09-18T07:56:50Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10216
dc.descriptionดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพแปรรูปปลาสลิดบางบ่อโดยการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 สร้างรูปแบบขึ้นจากการศึกษาและทบทวน งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการได้รับบาดเจ็บ จากการทำงานและทดลองใช้รูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างนำร่อง จำนวน 30 คน ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบที่เหมาะสมกับแรงงานนอกระบบซึ่งได้จากการศึกษาระยะที่ 1 โดยใช้วิธีการศึกษาแบบกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองใช้รูปแบบทั้งหมด 12 สัปดาห์ใช้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 82 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 41 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงวัดผลคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยจากการตอบแบบสอบถามพฤติกรรมความปลอดภัยทุก ๆ 2 สัปดาห์ตั้งแต่ก่อนจนถึงสิ้นสุดการทดลองใช้รูปแบบ (7 ครั้ง) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่ออธิบายลักษณะข้อมูลทั่วไป ข้อมูลพฤติกรรมความปลอดภัยและใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยในกลุ่มทดลองช่วงก่อนและหลังทดลองใช้รูปแบบในสัปดาห์ที่ 2 ถึง สัปดาห์ที่ 12 โดยใช้สถิติ Repeated measure ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมช่วงก่อนทดลองใช้รูปแบบ โดยใช้สถิติ Independent sample t - test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 และช่วงหลังทดลองใช้รูปแบบใช้สถิติ Man Whitney U - test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เคยประสบอุบัติเหตุจากการทำงานในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ร้อยละ56.10 ส่วนใหญ่โดนวัตถุ/ สิ่งของมีคม ตัด/บาด/ทิ่มแทง ร้อยละ 45.10 มีลักษณะเป็นบาดแผลที่บริเวณนิ้วมือ ร้อยละ 39.00 ผลจากการสร้างรูปแบบในการศึกษาระยะที่ 1 ทำให้ได้รูปแบบที่เหมาะสมต่อการนำไปทดลองใช้จริงกับกลุ่มตัวอย่าง คือ รูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมของแรงงานนอกระบบ ซึ่งประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ (1) การชี้บ่งอันตราย (2) การให้ความรู้ (3) การติดตามและสังเกตพฤติกรรม (4) การสร้างแรงกระตุ้น และ (5) การสร้างการมีส่วนร่วม และเมื่อนำรูปแบบไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า หลังทดลองใช้รูปแบบทุกช่วงสัปดาห์มีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยเพิ่มขึ้นสูงกว่าช่วงก่อนทดลองใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.001) เมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม พบว่า หลังทดลองใช้รูปแบบในสัปดาห์ที่ 4, 6, 8, 10 และ 12 กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของพฤติกรรมความปลอดภัยเพิ่มขึ้นสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p=0.001) แสดงให้เห็นว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นทำให้พฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพแปรรูปปลาสลิดบางบ่อดีขึ้น ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพในชุมชนสามารถนำรูปแบบไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานให้กับแรงงานนอกระบบในชุมชนเพื่อนำไปสู่การลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทำงานต่อไป
dc.language.isoth
dc.publisherคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectแรงงานนอกระบบ
dc.subjectการบาดเจ็บ
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.subjectวิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.titleการพัฒนารูปแบบการป้องกันการบาดเจ็บจากการทำงานแบบมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของแรงงานนอกระบบ : กรณีศึกษากลุ่มผ้ประกอบอาชีพแปรรูปปลาสลิดบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ
dc.title.alternativeDevelopment of prticiptory injury prevention model to improve sfety behviors mong informl workers : cse study of snkeskins gourmi fish processor, smutprkrn province
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeThis research aim to develop participatory injury prevention model among informal workers in the snakeskin gourami fish processor. The research procedure was divided into 2 phases. Firstly, model development from literature review of work injury prevention and trial among 30 participants, and secondly, model adjustment from the result of the first phase. The study design was quasi - experimental with pre and posttest design. The intervention model was implemented for 12 weeks. There were 82 subjects selected by purposive sampling, and were divided into the experimental group and the control group of 41 each. The evaluation of the model was measured by safety behaviors using a questionnaire before and after the intervention every 2 weeks, totally 7 repeats. The data were analyzed by descriptive statistics in terms of percentage and mean of the general characteristics, and safety behaviors of the subjects. Inferential statistics were used to compare means of safety behaviors before and after the intervention at 2 to 12 weeks by repeated measures ANOVA. Comparison of means of safety behaviors, before the intervention between the experiment and control groups was conducted with independent sample t-test and after the intervention with Man Whitney U-test. The results revealed that most subjects used to have accident from work (56.10%). The majority of the subjects had accident from sharp objects cut or wound (45.10%) and the wounds were on the fingers (39.0%). The result of the model development in the first phase revealed a suitable model for implementing on the subjects. There were 5 elements included (1) Hazard identification (2) Safety education (3) Safety behavior observation (4) Safety motivation and (5) Participation. The result of the model implementation revealed that mean safety behaviors of the experiment group after the intervention was significantly higher than before the intervention at 0.05 level (p=0.001) and mean safety behaviors of the experiment group was significantly higher than the control group after the intervention at 4, 6, 8, 10 and 12 weeks, respectively (p=0.001). The results showed that model development of this study increased safety behavior in snakeskin gourami fish processing workers. Thus, this model could be used by the primary health care unit and the stakeholders as a guideline for safety behavior promotion among the informal workers in community to decrease the occupational incidents.
dc.degree.levelปริญญาเอก
dc.degree.disciplineอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
dc.degree.nameปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61810011.pdf5.48 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น