กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10213
ชื่อเรื่อง: | ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอาชีวอนามัยกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขนขยะในเขตเทศบาลนคร อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The reltionships between occuptionl helth litercy nd sfety behvior mong grbge collector in city municiplity sirch district, chonburi province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมสมัย รัตนกรีฑากุล นิสากร ชีวะเกตุ พนิตนันท์ แซ่ลิ้ม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน ความปลอดภัยสาธารณะ พนักงานเก็บขยะ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | พนักงานเก็บขนขยะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการเก็บขนขยะอย่างต่อเนื่อง สาเหตุจากพฤติกรรมไม่ปลอดภัยในการทำงาน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอาชีวอนามัยกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขนขยะในเขตเทศบาลนครอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี จำนวน 204 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน เท่ากับ 0.86 การเข้าถึงข้อมูลด้านอาชีวอนามัยและปลอดภัย เท่ากับ 0.94 การ ได้รับการอบรมด้านอาชีวอนามัยและปลอดภัย เท่ากับ 0.97 ความตระหนักด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยเท่ากับ 0.76 และทักษะการตัดสินใจด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เท่ากับ 0.73 หาค่าความเชื่อมั่นความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้วยสูตร Kuder-Richardson (KR-20) เท่ากับ 0.58 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่าพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขนขยะโดยรวมอยู่ในระดับดี (Mean = 3.02, SD = 0.47) โดยความฉลาดทางอาชีวอนามัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานเก็บขนขยะ ได้แก่ ทักษะการตัดสินใจการเข้าถึงข้อมูลและการได้รับการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < .001) ความตระหนักและความรู้ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .01) ผลการวิจัย มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลอาชีวอนามัยและผู้ที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนในการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้เพียงพอจัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการตัดสินใจบอร์ดข่าวสารความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้พนักงานมีความรู้และเข้าถึงข้อมูลได้สะดวก |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10213 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
61920074.pdf | 3.33 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น