กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10203
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorพรนภา หอมสินธุ์
dc.contributor.advisorรุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์
dc.contributor.authorปุณยนุช สละชั่ว
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:56:43Z
dc.date.available2023-09-18T07:56:43Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10203
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstractความรอบรู้เท่าทันสื่อเป็นปัจจัยทางสังคมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น โดยเฉพาะความรอบรู้เท่าสื่อทางเพศการศึกษานี้จึงเป็นการวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้เท่าทันสื่อสุขภาพด้านเพศต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและหญิงที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาลเขตอำเภอนาดีจังหวัดปราจีนบุรีแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 31 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 34 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมผลของการพัฒนาความรอบรู้เท่าทันสื่อสุขภาพด้านเพศที่ประกอบด้วยกิจกรรม 6 ชุด นาน 6 สัปดาห์โดยพัฒนาจากโมเดลกรอบแนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพรูปแบบตัววี (V shape) ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการเรียนการสอนเรื่องเพศศึกษาตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานปกติของโรงเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย Chi-square test, Independent t-test และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated Measure ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า เมื่อสิ้นสุดการทดลองทันทีและระยะติดตามสี่สัปดาห์นักเรียนที่ได้รับโปรแกรม ฯ มีคะแนนเฉลี่ยทัศนคติเชิงบวกต่อการหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร (F = 13.744, p< .001) การรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิเสธการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร (F = 16.463, p < .001) และความตั้งใจในหลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร (F = 19.441, p< .001) สูงกว่า นักเรียนกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่คะแนนเฉลี่ยความสะดวกใจในการสื่อสาร เรื่องเพศกับผู้ปกครองไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 2.945, p= .091) ผลการวิจัยครั้งนี้ให้ข้อเสนอแนะว่ากลยุทธ์การพัฒนาความรอบรู้เกี่ยวกับสื่อทางเพศ สามารถป้องกันการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นได้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.subjectเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส
dc.subjectเพศสัมพันธ์
dc.titleผลการพัฒนาความรอบรู้เท่าทันสื่อสุขภาพด้านเพศ ต่อการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควรในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น
dc.title.alternativeEffects of developing medi sexul helth litercy on the premritl sex prevention mong lower secondry school students
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeMedia health literacy is the important social determinant that affecting risk behaviors among adolescents, especially media sexual health literacy. The objective of this quasi-experimental study was to examine the effects of media sexual health literacy developing program on the premarital sex prevention among lower secondary school students. The participants were 8th grade male and female students during academic year 2020 in public primary schools, which were similar characteristics in Nadee, Prachinburi. They were randomly assigned to experimental group (n= 31) and comparative groups (n= 34). The intervention group received The Developing Media Sexual Health Literacy Program consisted of six modules for 6 weeks. The intervention was emphasized health literacy (V shape) framework. Meanwhile, the comparison group received sex education from the school-based curriculum. Data were collected by self-report questionnaires. Statistical analysis was percentage, mean, Chi-square test, Independent t-test and Repeated Measure ANOVA. The finding indicated that the mean score of positive attitudes towards avoiding premarital sex (F = 13.744, p < .001), sexual refusal self-efficacy (F = 16.463, p < .001), and intention to sexual refusal (F = 19.441, p< .01) from baseline to instant intervention and 4-week follow-up significantly increased more in the intervention group, whereas the mean score of parent sexual communication was not significantly changed. The findings suggested that the strategies of developing media sexual health literacy could prevent sexual risk taking in adolescents.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61920073.pdf2.3 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น