กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10195
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorเขมารดี มาสิงบุญ
dc.contributor.advisorสายฝน ม่วงคุ้ม
dc.contributor.authorวรารมย์ จิตอุทัย
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:56:42Z
dc.date.available2023-09-18T07:56:42Z
dc.date.issued2564
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10195
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564
dc.description.abstractโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังซึ่งก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตราย ความร่วมมือในการรับประทานยาเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทำนายเพื่อศึกษาความร่วมมือในการรับประทานยาและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่ายได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 97 รายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อ มูลทั่วไป แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการรับประทานยาแบบสอบถามสัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์แบบสอบถามการรับรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงแบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการรับประทานยาและแบบสอบถามความร่วมมือในการรับประทานยาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 40.2 มีความร่วมมือในการรับประทานยาอยู่ในระดับต่ำ (M = 5.95,SD = 1.664) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและบุคคลากรทางการแพทย์การรับรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการรับประทานยาสามารถร่วมทำนายความร่วมมือในการรับประทานยาได้ร้อยละ 28.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยพบว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการรับประทานยา มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรับประทานยามากที่สุด (β = .24,p=<.05 (β = .24,p=<.05 ตามลำดับ) รองลงมาคือ สัมพันธภาพระหว่างผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์(β = .22,p=<.05) ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ควรจัดโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการรับประทานยา โดยเน้นการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ความรอบรู้ด้านสุขภาพ การรับรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงและส่งเสริมให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ป่วยและบุคคลากรทางการแพทย์เพื่อให้ผู้ป่วยตระหนักเห็นความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการรับประทานยาอย่างต่อเนื่อง
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความดันเลือดสูง
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
dc.subjectความดันเลือดสูง -- ผู้ป่วย
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความร่วมมือในการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน
dc.title.alternativeFctors influencing mediction dherence in hypertensive ptients without complictions
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeHypertension is a chronic uncommunicable disease that can be a cause of many serious medical complications. Adherence to antihypertensive medication is a key to prevent of such complications. A predictive research design was applied in this study and aimed to examine the medication adherence and its influencing factors in hypertensive patients without complications. Ninety-seven participants were recruited by a simple random sampling method. The research instruments comprised 6 questionnaires including a demographic questionnaire, the basic health literacy questionnaire, the patient-healthcare provider interpersonal relationship questionnaire, the perceptions of hypertension questionnaire, the perceived self-efficacy to medication adherence questionnaire, and the medication adherence questionnaire. A descriptive statistics and multiple regression analysis were used to analyze the data. The results showed that 40.2% of the participants had a low level of medication adherence (M = 5.95, SD = 1.664). The health literacy, a patient-healthcare provider interpersonal relationship, the perceptions of hypertension, and the perceived self-efficacy to medication adherence explained 28.5% in the variance of medication adherence among hypertensive patients without complications. The model suggested that health literacy (β = .24, p= < .05) and perceived self-efficacy to medication adherence (β = .24, p= < .05) were the best influencing factors to medication adherence. A patient-healthcare provider interpersonal relationship and perceptions of hypertension were the followed factors that influencing the medication adherence (β = .22, p=<.05 and β = .18, p=<.05, respectively). The knowledge gained from this study suggested that the program promoting medication adherence should be arranged and provided for the hypertensive patients without complications. The core contents of such program should emphasize on perceptions of self-efficacy to medication adherence, health literacy, self-awareness on hypertension, and interpersonal relationship between patients and healthcare providers. The program may be beneficial for the patients with hypertension by triggering their self-awareness and reminding the importance of medication adherence.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
61910114.pdf2.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น