กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10187
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยด้านจิตสังคมที่มีอิทธิพลต่อการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Psychosocil fctors influencing cyberbullying victimiztion mong upper secondry school students |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์ พิชามญชุ์ อินทะพุฒ สุภิศา จิตต์สม มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | ความรุนแรงในโรงเรียน มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นวัยรุ่นกลุ่มหนึ่งที่มีรายงานเกี่ยวกับการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์การวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์และอำนาจการทำนายของปัจจัยด้านจิตสังคมต่อพฤติกรรมการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 134 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามซึ่งแบ่งได้เป็น 8 ส่วน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) การเห็นคุณค่าในตนเอง 3) พฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต 4) การสนับสนุนทางสังคม 5) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง 6) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อน 7) สัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูและ 8) การถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ได้มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบสอบถามในส่วนที่ 2-8 เท่ากับ .83, .94, .95, .84, .93, .88 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์เท่ากับ 24.88 (SD = 4.76) ถือเป็นการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ในระดับต่ำ ปัจจัยด้านจิตสังคมที่สามารถทำนายการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ พฤติกรรมติดอินเตอร์เน็ต (β = .297, p< 0.05) โดยสามารถร่วมกันทำนายความแปรปรวนของการการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ได้ร้อยละ 13.30 (R 2 = .133, p< 0.05) ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลวิชาชีพ บุคลากรด้านสุขภาพ คณาจารย์และผู้บริหารการศึกษา สามารถนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อการป้องกัน เฝ้าระวัง ตลอดจนลดปัญหาการถูกรังแกผ่านโลกไซเบอร์ของนักเรียนโดยฉพาะในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยส่งเสริมด้านการใช้อินเตอร์เน็ต อย่างสร้างสรรค์และการมีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2564 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10187 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
61920060.pdf | 3.69 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น