กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/101
ชื่อเรื่อง: ผลกระทบของปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นที่มีผลต่อสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนที่อยู่ใกล้โรงงานโม่หินในเขตภาคตะวันออก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Health effect and dust concentration in schools located near stone grinding mills in the Eastern region of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์
เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์
ถิรพงษ์ ถิรมนัส
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์
คำสำคัญ: ฝุ่น - - ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
โรงงานโม่หิน - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - แง่สิ่งแวดล้อม - - วิจัย
สุขภาพและอนามัย - - ไทย (ภาคตะวันออก) - - วิจัย
สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
วันที่เผยแพร่: 2545
สำนักพิมพ์: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การศึกษาผลกระทบของปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นที่มีผลต่อสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนอยู่ใกล้โรงงานโม่หินในเขตตะวันออก โดยอาศัยรูปแบบเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า กลุ่มศึกษาเป็นนักเรียนในโรงเรียนที่ตั้งอยู่ห่างจากโรงงานโม่หินที่ใกล้ที่สุด 400 เมตรและห่างจากถนน 60 เมตร จำนวน 102 คนและกลุ่มควบคุมเป้นนักเรียนในดรงเรียนที่ตั้งอยู่ห่างจากดรงเรียนโม่หินที่ไกลที่สุด 2000 เมตรและห่างจากถนน 300 เมตร จำนวน 149 คนโดยเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพและการป้องกันโรคของนักเรียนโดยใช้แบบสังเกตอาการซึ่งบันทึกโดยครูประจำชั้นและข้อมูลการเจ็บป่วยของนักเรียนของสถานีอนามัยตำบลและทำการเก็บตัวอย่างอากาศเพื่อตรวจสอบวัดปริมาณฝุ่นทุกขนาดและฝุ่นขนาดที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมของปอดได้ ผลจาการศึกษาพบว่า กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุมเป้นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีอายุระหว่าง 6-12 ปี ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นทุกขนาดและฝุ่นขนาดที่สามารถเข้าถึงและสะสมในถุงลมของปอดได้ของกลุ่มการศึกษามีค่าเฉลี่ยของฝุ่นทั้ง 2 ขนาดสูงกว่ากลุ่มควบคุมเล้กน้อยและความเร็วลมเฉลี่ยในห้องเรียนของกลุ่มศึกษามีค่าสุงกว่ากลุ่มควบคุม สำหรับอาการเจ้บป่วยต่างๆ ได้แก อาการจาม เสียงแหบลง แสบตา/น้ำตาไหล หายใจหอบถี่ หายใจหอบ แน่นหน้าอก หอบหืด มีไข้ อ่อนเพลียและปวดเมื่อย กล้ามเนื้อ/ข้อของนักเรียนของกลุ่มศึกษามีอัตราสูงกว่ากลุ่มควบคุม สำหรับความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ พบว่า ปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นทุกขนาด มีผลต่อการแสดงอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนบนและระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง โดยที่อิทธิพลของปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นทุกขนาดทำให้ความเสี่ยงต่อการเกิดอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนบนในกลุ่มศึกษามากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ ในช่วง 3.23-4.35 เท่า และความเสี่ยงต่อการเกิดอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างในกลุ่มศึกษามากกว่าในกลุ่มเปรียบเทียบ ในช่วง 2.09-3.87 เท่า สำหรับปริมาณความเข้มข้นของฝุ่นขนาดที่สามารถเข้าไปและสะสมในถุงลมปอดได้ ไม่มีผลกระทบต่อการแสดงอาการระบบทางเดินหายใจส่วนบนและระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง This study aims to assess health impact of dust exposure among elementary school students in areas affected by dust from stone grinding mills in the eastern region of Thailand. A prospective design was conducted in 2 areas; one high and one low dust concentration. The high dust concentration area was located near the mills (400 meters away from the mills and 60 meters away from the streets). The low dust concentration area was located 2000 meters away from the mills and 300 meters from the streets. Respiratory symptom data, checklist and reports were evaluated. Total and respirable dust measurement was conducted. The study population consisted of grade 1-3 students, aged 6-12 years. Average dust concentration in the high concentration area was relatively higher than the low area. The episodes of respiratory symptoms including sneezing, nose and throat irritation, recurrent cold, cough with phlegm, dry throat, sore throat, chest tightness, shortness of breath, eye irritation, asthma, fever and malaise in high dust area were also higher. The result of the study revealed that total dust concentration had a positive impact on respiratory health. Within the high dust concentration area, odds ratios of upper lung symptoms were 3.23-4.35 and lower lung symptoms were 2.09-3.87 respectively. No significant impact from respirable dust was detected in this study.
URI: http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/101
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:รายงานการวิจัย (Research Reports)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
ไม่มีแฟ้มใดที่สัมพันธ์กับรายการข้อมูลนี้


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น