กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10021
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorดวงใจ วัฒนสินธุ์
dc.contributor.advisorภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.authorอัญมณี มณีนิล
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:43:57Z
dc.date.available2023-09-18T07:43:57Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10021
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractวัยรุ่นตอนปลายเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้าเนื่องจากปัจจัยที่หลากหลาย โดยมีบางส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของระยะพัฒนาการ การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จำนวน 160 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 7 ฉบับ ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความฉลาดทางสังคม แบบประเมินความผูกพันในครอบครัว แบบประเมินความผูกพันใกล้ชิดกับเพื่อน แบบประเมินการถูกรังแกทางออนไลน์ และแบบประเมินการเผชิญปัญหาการรังแกทางโลกออนไลน์แบบมุ่งแก้ปัญหา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค เท่ากับ .87, .82, .90, .82, .91 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่าวัยรุ่นตอนปลายมีภาวะซึมเศร้า ร้อยละ 51.25 จำแนกเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อยถึงปานกลาง ร้อยละ 25 และภาวะซึมเศร้ารุนแรง ร้อยละ 26.25 ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ความผูกพันในครอบครัว (β = -.39, p< .001) และความฉลาด ทางสังคม (β = -.15, p< .05) มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้า โดยสามารถร่วมกันทำนายภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลายได้ร้อยละ 22.30 (R 2 = .223, p< .05) ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า ภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นตอนปลายเป็นประเด็นปัญหาทางด้านสุขภาพจิตสำคัญที่ทีมสุขภาพควรตระหนักและจัดให้มีโปรแกรม/กิจกรรมส่งเสริม สุขภาพจิตที่ช่วยป้องกันหรือลดภาวะซึมเศร้า โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างความผูกพันในครอบครัว และความฉลาดทางสังคม
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectความซึมเศร้า
dc.subjectความซึมเศร้าในวัยรุ่น
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะซึมเศร้าของวัยรุ่นตอนปลาย
dc.title.alternativeFctors influencing depression mong lte dolescents
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativeLate adolescents are at risk of depression due to various factors, with some linked to their life stage. The purpose of this predictive correlational study was to examine depression and its influencing factors among late adolescents in high schools in the Muang District of Chanthaburi Province. Stratified random sampling was employed to select the sample (n=160). Data were gathered by seven questionnaires: a Personal Information Form, the Center for Epidemiological Studies-Depression Scale, the Social Intelligence Scale, the Family Connectedness Scale, the Friendship Intimacy Scale, the Perception of Cyberbullying Victim Scale, and the Coping with Cyberbullying Scale. These scales yielded Cronbach’s alpha coefficients of .87, .82, .90, .82, .91, and .95, respectively. Data were analyzed by descriptive statistics and stepwise multiple regression. The findings revealed depression among 51.25% of the sample. Among these, 25% had mild to moderate depression, and 26.25% had severe depression. Stepwise multiple regression analysis revealed that family connectedness (β = -.39, p< .001) and social Intelligence (β = -.15, p< .05) had statistically significant effects on depression. These factors together significantly explained 22.30% (R 2 = .223, p< .05) for the variance in depression among these late adolescents. The results suggest that health care providers be aware of late-adolescent depression as an important mental health concern, and that theypromote mental health programs/ activities to prevent or decrease depression by enhancing family connectedness and social intelligence.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:I-thesis

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
58920057.pdf4.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น