กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10018
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorภรภัทร เฮงอุดมทรัพย์
dc.contributor.advisorชนัดดา แนบเกษร
dc.contributor.authorนันนภัส แววกระโทก
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned2023-09-18T07:43:57Z
dc.date.available2023-09-18T07:43:57Z
dc.date.issued2563
dc.identifier.urihttps://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10018
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstractความผาสุกทางใจในการทํางานเป็นอีกด้านหนึ่งของความผาสุกทางใจ ซึ่งสะท้อนถึงคุณภาพชีวิตของบุคคลรวมทั้งพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ การวิจัยเชิงบรรยายเพื่อหาความสัมพันธ์นี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตสังคมกับความผาสุกทางใจในการทํางานของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ของมูลนิธิสองแห่งในเขตอําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จํานวน 100คน ได้มาด้วยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความผาสุกทางใจในการทํางาน แบบสอบถามความมีจิตสาธารณะ แบบสอบถามความภาคภูมิใจในตนเอง แบบสอบถามความอ่อนล้าทางอารมณ์ แบบสอบถามสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และแบบสอบถามความขัดแย้งระหว่างงาน และชีวิตครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาและการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความผาสุกทางใจในการทํางานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X̄=49.04, SD =10.10) จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ พบว่า ความอ่อนล้าทางอารมณ์ และความขัดแย้งระหว่างงานและชีวิตครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับสูงกับความผาสุกทางใจในการทํางานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r= -0.84, p < .01 และ r = -0.78, p < .01) ส่วนสัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ความมีจิตสาธารณะและความภาคภูมิใจในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความผาสุกทางใจในการทํางานอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = 0.87, p < .01, r = 0.83, p < .01 ตามลําดับ) จากผลการศึกษามีข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับพนักงานฉุกเฉินการแพทย์ ควรให้ความสําคัญในการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างพนักงาน ความมีจิตสาธารณะ และความภาคภูมิใจในตนเอง ป้องกันความอ่อนล้าทางอารมณ์และจัดตารางการทํางานให้มีความสมดุลระหว่างงานและชีวิตครอบครัว เพื่อธํารงไว้ซึ่งขวัญกำลังใจและเพิ่มความผาสุกทางใจ ในการทํางานของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์เหล่านี้
dc.language.isoth
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rightsมหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์
dc.subjectบุคลากรทางการแพทย์ -- ความพอใจในการทำงาน
dc.subjectมหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตสังคมกับความผาสุกทางใจในการทำงานของพนักงานฉุกเฉินการแพทย์
dc.title.alternativeThe ssocition between psychosocil fctors nd psychologicl well-being t workplce mong Emergency Medicl Technicins
dc.typeวิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternativePsychological Well-being [PWB] at workplace is an aspect of well-being which reflects employees’ quality of life. This includes Emergency Medical Technicians [EMTs]. The purpose of this descriptive correlational research was to examine the relationships between psychosocial factors and PWB at workplace among EMTs.Participants were 100 staff in two foundations in Muang District, Nakhonratchasima. The sample was recruited using a stratified sampling design. Data were collected with a set of questionnaires: ademographic record form, PWB at workplace, public mind, self-esteem, emotional exhaustion, relationship with colleagues, and work-family conflict [WFC]. Data were analyzed using descriptive statistic and Pearson’s product-moment correlation. The results showed that the overall PWB at workplace of EMTs was at a moderate level (X̄= 49.04, SD = 10.10). Correlational analysis found that emotional exhaustion and WFC had high, significant (p < .01) negative relationships with PWB at workplace (r= -0.84 and r= -0.78, respectively). Relationships with colleagues, public mind and self-esteem had high,significant (p<.01) positive relationships with PWB at workplace (r= 0.87, r= 0.83 and r= 0.61, respectively). The results suggest that foundation’s administrative members and those involved with EMTs should concern in promoting relationship with colleagues, public mind and self-esteem, and with preventing emotional exhaustion and work-family life imbalance in order for maintain morale and enhance the PWB at workplace among EMTs.
dc.degree.levelปริญญาโท
dc.degree.disciplineการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยบูรพา
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920046.pdf1.52 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น