กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10016
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | พรนภา หอมสินธุ์ | |
dc.contributor.advisor | รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ | |
dc.contributor.author | ภัทราภรณ์ ปามุทา | |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2023-09-18T07:43:56Z | |
dc.date.available | 2023-09-18T07:43:56Z | |
dc.date.issued | 2563 | |
dc.identifier.uri | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10016 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 | |
dc.description.abstract | การตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมและการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นเป็นปัญหาที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สาเหตุเกิดจากความล้มเหลวในการคุมกำเนิดของวัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอัตราชุกของการคุมกำเนิดแบบสองวิธีและปัจจัยทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธีของนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในจังหวัดชลบุรีโดยใช้กรอบแนวคิดการให้ข้อมูลข่าวสารแรงจูงใจและทักษะพฤติกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงวัยรุ่นอายุ 18-24 ปี ที่ศึกษาในโรงเรียนอาชีวศึกษาของภาครัฐ ในเขตจังหวัดชลบุรีที่ระบุว่า มีเพศสัมพันธ์ในช่วง 6 เดือนที่ผ่าน จำนวน 393 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งหลายขั้น ตอน (Multi-stage sampling) เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเองผ่านระบบออนไลน์ (e-questionnaire) ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมทางเพศและพฤติกรรมการคุมกำเนิด แบบสองวิธีความรู้การคุมกำเนิดแบบสองวิธีการสนับสนุนจากคู่นอนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธีการสื่อสารเกี่ยวกับการคุมกำเนิดแบบสองวิธีกับคู่นอน การรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิดแบบสองวิธีทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธีการรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/ การตั้งครรภ์และการรับรู้ประโยชน์ของการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธีโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ในช่วง 0.852-0.969 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการถดถอยโลจิสติกส์ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนอาชีวศึกษาหญิงมีอัตราการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธีในการมีเพศสัมพันธ์ในช่วงหกเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 64.6 ปัจจัยที่สามารถทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธี ได้แก่ ความรู้ในการคุมกำเนิดแบบสอบวิธี (Adjusted Odds Ratio (AOR) = 1.082, 95% CI = 1.003-1.266) การรับรู้ความเสี่ยงต่อการติดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์/ การตั้งครรภ์(AOR = 1.148, 95% CI = 1.003-1.313) และการรับรู้ประโยชน์ของการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 1.188, 95% CI = 1.005-1.405) การสื่อสารเกี่ยวกับการคุมกำเนิดแบบสองวิธีกับคู่นอน (AOR = 1.587, 95% CI = 1.275-1.976) และการรับรู้สมรรถนะของตนเองในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 4.172, 95% CI = 2.728-6.380) ในขณะที่ทัศนคติต่อการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 0.946, 95% CI = 0.827-1.083) และการสนับสนุนจากคู่นอนในการคุมกำเนิดแบบสองวิธี (AOR = 0.922, 95% CI = 0.760-1.119) ไม่สามารถทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธีได้ ผลจากการวิจัยนี้เสนอว่า แนวทางที่เป็นประโยชน์ในการส่งเสริมพฤติกรรมการคุมกำเนิดแบบสองวิธี สำหรับวัยรุ่นหญิงควรเน้นการเสริมสร้างความรู้ สร้างความตระหนักถึงความเสี่ยงและประโยชน์รวมทั้งจัดกิจกรรมพัฒนาทักษะเฉพาะด้านการสื่อสาร และทักษะการใช้การคุมกำเนิดแบบสองวิธี | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.rights | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
dc.subject | คุมกำเนิด | |
dc.subject | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | |
dc.subject | นักเรียนอาชีวศึกษา -- พฤติกรรมทางเพศ | |
dc.title | ปัจจัยทำนายการคุมกำเนิดแบบสองวิธีในนักเรียนอาชีวศึกษาหญิงในจังหวัดชลบุรี | |
dc.title.alternative | Predictive fctors of dul contrceptive protection mong femle voctionl students in chon buri province | |
dc.type | วิทยานิพนธ์/ Thesis | |
dc.description.abstractalternative | Unwanted pregnancy and Sexually Transmitted Infections (STIs) tend to be the continuous problems of teenagers due to their ineffective contraception. This study aimed to determine the prevalence rate and predictor of dual contraceptive protection among female vocational students in Chon Buri province. The conceptual framework was based on the Information-Motivation-Behavioral skills [IMB] model. The samples of 393 female vocational students aged 18-24 years old studying in public vocational colleges in Chon Buri, who were sexually active within six months. The samples were recruited for the survey using multi-stage random sampling, and e-questionnaires were used to collect the data. Demographic data, sexual and dual contraceptive protection behaviors, knowledge of dual contraceptive protection, partner’s support for dual contraceptive protection, communication about dual contraceptive protection with a partner, self-efficacy of dual contraceptive protection, attitudes toward dual contraceptive protection, perception about risk of sexually transmitted disease and unwanted pregnancy, and perception about benefits of dual contraception protection were collected by using self-administered e-questionnaires (The Reliability of questionnaires were 0.852-0.969). Descriptive statistics and Binary Logistic Regression were employed for data analysis. The findings indicate that 64.6% of the female vocational students reported they have used the dual contraceptive protection. Predicting factors of dual contraceptive protection were knowledge of dual contraceptive protection (Adjusted Odds Ratio (AOR) = 1.082, 95% CI = 1.003-1.266) perception about risk of sexually transmitted disease and unwanted pregnancy (AOR = 1.148, 95% CI = 1.003-1.313) perception about benefits of dual contraception protection (AOR = 1.188, 95% CI = 1.005-1.405) communication about dual contraceptive protection with partner (AOR = 1.587, 95% CI = 1.275-1.976) and self-efficacy of dual contraceptive protection (AOR = 4.172, 95% CI = 2.728-6.380). However, the attitude towards the dual contraceptive protection (AOR = 0.946, 95% CI = 0.827-1.083) and the contraception partner support (AOR = 0.922, 95% CI = 0.760-1.119) could not predict the dual contraceptive protection. The results suggest that the useful guidance on promoting dual contraceptive behaviors of female adolescents should address accurate information related to benefits of dual protection, increase on risk awareness, and developing specific skills such as communication skill and skills training on dual protection. | |
dc.degree.level | ปริญญาโท | |
dc.degree.discipline | การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน | |
dc.degree.name | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต | |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยบูรพา | |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
60920036.pdf | 2.43 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น