กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10001
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชายในจังหวัดชลบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Fctors predicting sexul rousl mngement mong mle dolescentsin chonburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ
นิสากร ชีวะเกตุ
กฤษณพงศ์ ลาภผล
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน
อารมณ์ทางเพศ
วัยรุ่น -- พฤติกรรมทางเพศ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
บทคัดย่อ: การจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นต้องไม่กระทบต่อสุขภาพ การเรียน และชีวิตประจำวัน การวิจัยความสัมพันธ์เชิงทำนายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชาย ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชายชั้นมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาอายุ 14-19 ปี ในเขตจังหวัดชลบุรี จำนวน 240 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย ปัจจัยส่วนบุคคล สื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ การจัดการอารมณ์ทางเพศ ประกอบด้วยการควบคุมอารมณ์ทางเพศการเบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศและการปลดปล่อยอารมณ์ ทางเพศ ทัศนคติต่อการจัดการอารมณ์ทางเพศความรู้เรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศการปฏิบัติทางศาสนาอิทธิพลจากเพื่อน รูปแบบการเลี้ยงดูและการสื่อสารเรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศในครอบครัวโดยมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามอยู่ในช่วง .71-.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย และสถิติถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยที่สามารถทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชายด้านการควบคุม อารมณ์ทางเพศได้ ได้แก่ อิทธิพลจากเพื่อน (β = -.394) ประสบการณ์การมีเพศสัมพันธ์ (β = -.330) สื่อกระตุ้น อารมณ์ทางเพศ (β = -.196) การสื่อสารเรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศในครอบครัว (β = -.158) และการปฏิบัติ ทางศาสนา (β = .123) สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 46.1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 (R 2 = .461, p< .001) 2) ปัจจัยที่สามารถทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชายด้านการเบี่ยงเบนอารมณ์ทางเพศได้ ได้แก่ การสื่อสารเรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศในครอบครัว (β = .247) อิทธิพลจากเพื่อน (β = .244) ระดับการศึกษา (β = -.156) และความรู้เรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศ (β = .125) สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 15.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 (R 2 = .155, p< .001) และ 3) ปัจจัยที่สามารถทำนายการจัดการอารมณ์ทางเพศของวัยรุ่นชายด้านการปลดปล่อยอารมณ์ทางเพศได้ ได้แก่ ประสบการณ์การมีเพศสัม พันธ์ (β = .456) อิทธิพลจากเพื่อน (β = .225) และสื่อกระตุ้นอารมณ์ทางเพศ (β = .167) สามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 38.8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ < .001 (R 2 = .388, p< .001) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยนี้ไปประยุกต์ใช้โดยส่งเสริมให้วัยรุ่นมีความรู้เรื่องจัดการอารมณ์ทางเพศการรู้เท่าทันสื่อต่าง ๆ ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา ส่งเสริมให้ครอบครัวและเพื่อนได้มีการสื่อสารเรื่องการจัดการอารมณ์ทางเพศร่วมกันกับวัยรุ่น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
URI: https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10001
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:วิทยานิพนธ์ (Theses)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
60920047.pdf2.12 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น