กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10000
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Fctors relted to cre rediness for persons with dementi mong villge helth volunteers |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สมสมัย รัตนกรีฑากุล วรรณรัตน์ ลาวัง ณัฐรดา แฮคำ มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฎิบัติชุมชน ภาวะสมองเสื่อม -- ผู้ป่วย -- การดูแล ภาวะสมองเสื่อม |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
บทคัดย่อ: | อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เป็นทรัพยากรสำคัญในระบบการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมระยะยาวการวิจัยเชิงพรรณนาแบบความสัมพันธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมของอสม. และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความพร้อม ดังกลว่า กลุ่มตัวอย่าง เป็น อสม. ที่ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชลบุรี จำนวน 240 คน ที่ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2562-มกราคม พ.ศ. 2563 โดยการทำแบบวัดความรู้เกี่ยวกับการดูแล (มีค่า KR 20 เท่ากับ .63) และการทำ แบบสอบถาม ได้แก่ การรับรู้บทบาทการดูแลทัศนคติต่อการดูแลการสนับสนุนการปฏิบัติบทบาท และความพร้อมในการดูแล (มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคระหว่าง .72-.97) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติความสัมพันธ์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการปฏิบัติบทบาทการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 72.08, SD = 13.26, Madj = 3.60) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านมีความพร้อมอยู่ในระดับมากยกเว้นความพร้อมด้านการประเมินความต้องการ ด้านสุขภาพและด้านการจัดทำฐานข้อมูลที่มีความพร้อมอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การรับรู้บทบาทการดูแล (r= .67, p< .001) การสนับสนุนการปฏิบัติบทบาท (r= .52, p< .001) ทัศนคติต่อการดูแล (r= .34, p< .001) ภาวะสุขภาพของ อสม. (r= .17, p< .01) จากผลการวิจัย พยาบาลและบุคคลากรทางสุขภาพควรพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความพร้อมในการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมของอสม. โดยเน้นการเพิ่มการรับรู้ บทบาทการดูแล ทัศนคติต่อการดูแลและความรู้เกี่ยวกับการดูแล ตลอดจนให้การสนับสนุน การปฏิบัติบทบาท โดยเฉพาะในกลุ่ม อสม. ที่มีการรับรู้สุขภาพไม่ดีเพื่อเพิ่มความพร้อมของอสม. นำไปสู่คุณภาพการดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมอย่างมีประสิทธิภาพ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
URI: | https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/10000 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | วิทยานิพนธ์ (Theses) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
60920040.pdf | 6.14 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น