dc.contributor.advisor |
วารี กังใจ |
|
dc.contributor.advisor |
สหัทยา รัตนจรณะ |
|
dc.contributor.author |
สิชล ทองมา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:43:53Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:43:53Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9996 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่ทําให้ผู้สูงอายุต้องประสบกับปัญหาและภาวะแทรกซ้อนของโรค ทําให้ต้องมีพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อเผชิญปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบ หากผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีความยืดหยุ่นที่ดีจะสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากภาวะเจ็บปูวยซึ่งเป็นสถานการณ์ที่ยากลําบากในชีวิตได้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นต่อพฤติกรรมการจัดการตนเอง และระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 30 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบกลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่น ส่วนกลุ่มเปรียบเทียบได้รับการดูแลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์การจัดการด้วยตนเองและตรวจระดับฮีโมโกลบินเอวันซีด้วยเครื่องมือ H9 HbA1c Analyzer วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา สถิติการทดสอบค่าที สถิติวิเคราะห์ความ แปรปรวนแบบทางเดียววัดซ้ำ ประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม และเปรียบเทียบเชิงพหุคูณแบบรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอร์โรนี ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองและค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซีของกลุ่มทดลองแตกต่างจากกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเองของกลุ่มทดลอง ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผลมากกว่า ระยะก่อนการทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) และค่าเฉลี่ยฮีโมโกลบินเอวันซีของกลุ่มทดลองในระยะติดตามผลน้อยกว่าระยะก่อนการทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ(p < .01) และพบว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01) จากผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานประจําโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตําบลหรือพยาบาลที่ปฏิบัติงานประจําคลินิกหมอครอบครัวควรนําโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นไปใช้กับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน เพื่อให้ผู้สูงอายุโรคเบาหวานมีพฤติกรรมการจัดการตนเองที่เหมาะสม และค่าระดับฮีโมโกลบินเอวันซีลดลง |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ |
|
dc.subject |
เบาหวานในผู้สูงอายุ |
|
dc.title |
ผลของโปรแกรมส่งเสริมความยืดหยุ่นต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน |
|
dc.title.alternative |
Effects of the resilience promoting progrm on self-mngement behvior nd hemoglobin 1c level mong older people with dibetes |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Diabetes is a chronic disease that causes the older people with diabetes encounter problems with the disease. Therefore, the older adults with diabetes must perform selfmanagement behavior to adapt with effects and threaten. If the older adults with diabetes have good resilience, they will have ability to adapt themselves to changes as a consequence after the illness which is difficult situation. This study was the quasi-experimental research with two groups repeated measurement. The objective was to study the effect of resilience promoting program on selfmanagement behavior and Hemoglobin A1 c level in the older adults with diabetes. Samples were 30 older people with diabetes type 2 who met the requirements. The simple random sampling was used to the experimental and comparison groups with 15 persons each group. The experimental group was received the resilience promoting program while the comparison group received routine care. Data collection were done before, after, and monitoring period of intervention by using self-management interview in the older adults with diabetes and the Hemoglobin A1 c level was monitored by H9 Hemoglobin A1 c Analyzer. Data were analyzed by using descriptive statistics, dependent t-test, independent t-test, repeated one-way ANOVA between-group and within-group variance, and multiple comparison of Bonferroni. The results found that a self-management behavior average score and Hemoglobin A1 c level of the experimental group was statistically significant from the comparison group (p< .05). A self-management behavior average score of the experimental group after receiving the intervention and in the follow up period higher than before receiving the intervention and the comparison group with statistically significant (p< .01). Moreover, Hemoglobin A1 c level of the experimental group in the monitoring period lower than before receiving the intervention and the comparison group with statistically significant (p< .01). Results from this study suggest the nurses who working in the district health promotion hospital or the family medicine clinic must implement the resilience promoting program in the older adults with diabetes to promote appropriate self-management behavior and the level of Hemoglobin A1 c will be decreased. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลผู้สูงอายุ |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|