DSpace Repository

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ

Show simple item record

dc.contributor.advisor พรชัย จูลเมตต์
dc.contributor.advisor นัยนา พิพัฒน์วณิชชา
dc.contributor.author ชัยยุทธ โคตะรักษ์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:43:52Z
dc.date.available 2023-09-18T07:43:52Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9995
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract ในปัจจุบันจำนวนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น โดยสถิติผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้้าของสถาบันประสาทในปีพ.ศ. 2558-2560 มีจำนวน 125, 130 และ 137 ราย ตามลำดับ ดังนั้นการปฎิบัติพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำอาจส่งผลกระทบต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำการวิจัยเชิงพรรณาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำและศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดกลับเป็นซ้ำกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปที่ได้รับการ วินิจฉัยจากแพทย์เป็นโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ หรือเป็นโรคหลอดเลือดสมองครั้งที่ 2 เป็นต้นไป และมารับการตรวจที่คลินิกประสาทวิทยา สถาบันประสาทวิทยากรุงเทพมหานคร จำนวน 88 รายได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำแบบสัมภาษณ์การรับรู้โอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำแบบสัมภาษณ์การรับรู้ความรุนแรงโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำแบบสัมภาษณ์ การรับรู้ประโยชน์ของการปฎิบัติพฤติกรรมสุขภาพ แบบสัมภาษณ์การรับรู้อุปสรรคของการปฎิบัติ พฤติกรรมสุขภาพ แบบสัมภาษณ์การรับรู้สิ่งชักนำให้สู่การปฎิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และแบบสัมภาษณ์การรับรู้ความสามารถของตนเอง มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .73 .85 .80 .81 .73 .73 และ .75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ มีพฤติกรรมสุขภาพ อยู่ในระดับสูง (M = 60.19, SD = 6.981, Max = 71, Min = 45) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (r = .31, p < .01) และการรับรู้สิ่งชักน้าให้สู่การปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ (r = .31, p < .01) ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ (r = .22, p < .05) การรับรู้ความรุนแรงโรคหลอดเลือดสมองการกลับเป็นซ้ำ (r = .22, p < .05) การรับรู้ความสามารถของตนเอง (r = .20, p < .05) และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพมี ความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.27, p < .01) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัย จากผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลและบุคลากรทางสุขภาพควรให้ความสำคัญ และตระหนักถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำและนำผลการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการพัฒนารูปแบบ หรือส่งเสริมกิจกรรมการพยาบาลเพื่อเป็นการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ
dc.language.iso th
dc.publisher คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.subject โรคหลอดเลือดสมอง
dc.title ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองกลับเป็นซ้ำ
dc.title.alternative Fctors relted to helth behvior of elderly with recurrent stroke
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative Recently, number of recurrent strokes dramatically increase. The elderly with recurrent strokes’ statistics of the Prasat Neurological Institute in 2015-2017 was 125, 130, and 137 cases, respectively. The health behavior of elderly with recurrent stroke may affects to recurrent stroke. This study aimed to study the health behavior of elderly with recurrent stroke and to study the factors related to health behavior of elderly with recurrent stroke. The sample included 88 elderly aged 60 and older diagnosed by physician with recurrent stroke or having a second stroke or more.and attended at neurological clinic, out-patient department, Prasat Neurological Institute of Bangkok. The simple random sampling method was used, and the research instruments were health behaviors of elderly with recurrent stroke, perceived recurrent stroke’s risks, perceived recurrent stroke’s severity, perceived benefits of health behaviors action, perceived barriers of health behaviors action, cues of health behaviors action, and perceived selfefficacy questionnaires and reliability values were .73 .85 .80 .81 .73 and .75, respectively. Data were analyzed by using descriptive statistics and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results found that the elderly with recurrent stroke had health behavior in a high level (M = 60.19, SD = 6.981, Max = 71, Min = 45). The factors that were positively moderately correlated with the health behavior of elderly with recurrent stroke with statistical significance included perceived benefits of health behaviors action (r = .30, p < .01) and cues of health behaviors action (r = .31, p < .01). Factors that were positively correlated in a low level with statistical significance included perceived recurrent stroke’s risk (r = .22, p < .05), perceived recurrent stroke’s severity (r = .22, p < .05), and perceived self-efficacy (r = .20, p < .05), with perceived barrier of health behavior action was negatively corrected in a low level of the health behavior of elderly with recurrent stroke with statistical significance (r = -.27, p < .01), all of which were correlated with hypotheses of this research. The suggestions in this study are that nurses and healthcare providers must be awareness and emphasize on factors related to health behaviors action of elderly with recurrent stroke and apply the research findings to develop model or promote nursing interventions to prevent recurrent stroke.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้สูงอายุ
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account