dc.contributor.advisor |
ยุพิน ถนัดวณิชย์ |
|
dc.contributor.advisor |
วัลภา คุณทรงเกียรติ |
|
dc.contributor.author |
จุฬาลักษณ์ อินทะนิล |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:43:52Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:43:52Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9993 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
โรคมะเร็งระยะลุกลาม เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมการแบ่งตัวของเซลล์ได้ตามปกติและมีการพัฒนาของโรคอยู่ในระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การเจ็บป่วยนี้สามารถส่งผลกระทบต่อความสุขสบายของผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ-จิตวิญญาณ สังคม-วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาความสุขสบาย และปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสุขสบายของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม หรือมีระยะของโรคมะเร็งอยู่ในระยะที่ 3 หรือ 4 และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดที่ได้เข้ารับการดูแลรักษาแบบผู้ป่วยใน ณ หอผู้ป่วยสามัญหญิง และหอผู้ป่วยสามัญชายโรงพยาบาลมะเร็งชลบุรี กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบอย่างง่าย จำนวน 84 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลแบบสอบถามความสุขสบายของผู้ป่วยแบบประเมินความผาสุกทางจิตวิญญาณ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามอาการซึมเศร้าที่มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์อัลฟาคอนบาคเท่ากับ .94, .93, .92 และ .80 ตามลำดับ ส่วนแบบประเมิน ความปวดมีค่าความเชื่อมั่นคงที่แบบวัดซ้ำ เท่ากับ .99 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ส่วนตัวแปรความปวดใช้สถิติวิเคราะห์หาค่าความสัมพันธ์สเปียแมน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความสุขสบายในระดับมาก (M= 225.25, SD = 26.25) ความปวด และภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับความสุขสบายอย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติ (rs = - .230, p< .05 และ r= - .543, p < .01 ตามลำดับ) แต่ความผาสุกทางจิตวิญญาณ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสุขสบายอย่างมีนัยสัมพันธ์ทางสถิติ (r= .566, p< .01 และ r= .544, p< .01 ตามลำดับ) ดังนั้น ผู้ให้การบริการสุขภาพโดยเฉพาะพยาบาลควรตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลส่งเสริมความสุขสบายแก่ผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม โดยการส่งเสริมการสนับสนุนทางสังคม และความผาสุกทางจิตวิญญาณให้กับผู้ป่วยร่วมกับให้การพยาบาลจัดการความปวดและภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วย |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มะเร็ง -- การป้องกันและควบคุม |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ |
|
dc.subject |
มะเร็ง -- ผู้ป่วย |
|
dc.title |
ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสุขสบายของผู้ป่วยโรคมะเร็งระยะลุกลาม |
|
dc.title.alternative |
Selected fctors relted to comfort of dvnced cncer ptients |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Advanced cancer is an uncontrolled cell division/proliferation disorder which cannot be cured. Its effect on the comfort of advanced cancer patients encompasses physical, psycho-spiritual, socio-cultural, and environmental dimensions (Kolcaba, 2003). This correlational descriptive research aimed to study and The factors related to the comfort of advanced cancer patients. Participants were eighty-four cancer patients, diagnosed by an oncologist with 3rd or 4th stage cancer, who had been admitted to two ordinary cancer units at Chonburi Cancer Hospital, Chonburi province, and who met the inclusion criteria. Simple random sampling was used to select the participants. Six instruments were used for data collection: 1. Personal data record; 2. Hospice Comfort Questionnaire (Patient); 3. The Spiritual Well-Being Scale; 4. The Social Support Questionnaire; 5. Pain Numeric Rating Scale, and; 6. Hospital Depression Scale. Cronbach’s alpha coefficient for the Hospice Comfort Questionnaire (Patient), The Spiritual Well-Being Scale, The Social Support Questionnaire, and The Thai version of the Hospital Depression Scale were .94, .93, .92 and .80 respectively. The reliability of the Pain Numeric Rating Scale was assessed by the test-retest method (r= .99). The data were analyzed by descriptive statistics and Pearson’s correlation coefficient. Spearman’s rank correlation was used to test pain data. The results of this study demonstrated that the samples had high comfort (M= 225.25, SD= 26.25). pain and depression variables showed negative correlation with their comfort significantly (rs = -.230, p< .05 and r = -.543, p< .01 respectively). Conversely, Spiritual well-being and social support variables positively correlated with comfort of advanced cancer patients significantly (r = .566, p< .01 and r = .544, p< .01 respectively). Thus, healthcare professionals, especially nurses, should concern and promote comfort of advanced cancer patients, by facilitating their social support and spiritual well-being, including providing nursing management specific to eliminate pain and depression. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลผู้ใหญ่ |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|