dc.contributor.advisor |
ยุพิน ถนัดวณิชย์ |
|
dc.contributor.advisor |
วัลภา คุณทรงเกียรติ |
|
dc.contributor.author |
วิภาดา ตรงเที่ยง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะพยาบาลศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:43:52Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:43:52Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9991 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
โรคมะเร็งเป็นโรคที่คุกคามต่อชีวิต การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเป็นการรักษาที่ซับซ้อนและมีอาการข้างเคียงที่รุนแรง ไม่สามารถทำนายผลการรักษาได้แน่ชัดทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดเกิดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีความทุกข์ทรมานทางจิตใจ การวิจัยความสัมพันธ์ เชิงทำนายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคมะเร็งที่อยู่ระหว่างได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด และมาพบแพทย์เพื่อรับยาเคมีบำบัดตามนัดที่หอผู้ป่วยเคมีบำบัด โรงพยาบาลราชบุรี จำนวน 85 ราย ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบวัดการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วยแบบประเมินความหวังของเฮิร์ท แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม แบบประเมินภาวะซึมเศร้า และแบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของมิเชล ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .83.84.86.83 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย การรับรู้ความรุนแรงของการเจ็บป่วยความหวัง และภาวะซึมเศร้าในระดับสูง (M = 159.52, 83.41, 44.2 และ 15.52, SD = 5.05, 4.66, 4.01 และ 3.32 ตามลำดับ) และการได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับสูงมาก (M = 73.74, SD = 6.61)และปัจจัยที่สามารถร่วมทำนายการเกิดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วยภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคม โดยสามารถร่วมทำนายการเกิดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดได้ร้อยละ 18.6 (R 2 = .186, p < .05) จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่าผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดยังต้องเผชิญกับการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วยของตนเองมาก และมีภาวะซึมเศร้าสูงทำให้เกิดความรู้สึกไม่แน่นอนในระดับสูงเช่นกัน ดังนั้นพยาบาลควรพัฒนาการพยาบาล รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้ป่วยได้รับการสนับสนุนทางสังคมให้เพียงพอเพื่อช่วยลดการรับรู้ความรุนแรงของความเจ็บป่วย ภาวะซึมเศร้า และความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
มะเร็ง -- การรักษาด้วยรังสี |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ |
|
dc.subject |
มะเร็ง -- การบำบัดด้วยแสง |
|
dc.subject |
มะเร็ง -- การรักษา |
|
dc.title |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยในผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด |
|
dc.title.alternative |
Fctors influencing uncertinty in illness mong cncer ptients undergoing chemotherpy |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
Cancer is a life-threatening disease. Chemotherapy is a complex treatment with severe side effects. In addition, the treatment is unpredictable in its results. This creates uncertainty in cancer patients undergoing chemotherapy resulting in psychological distress. The purpose of this predictive correlational research was to examine the factors influencing uncertainty in illness among cancer patients undergoing chemotherapy. A simple random sampling method was used to recruit 85 patients who were receiving cancer chemotherapy who had visited their doctors appointment in order to receive the chemotherapyat the chemotherapy center at Ratchaburi hospital and who also met the inclusion criteria. The research instruments included Demographic Questionnaire, Illness Perception Questionnaire, Herth Hope Index, Mishel Uncertainty in Illness Scale, and Depression Scale. The Cronbach’s alpha coefficients were.83, .84, .86, .83, and .82 respectively. The data was analyzed by using descriptive statistics and multiple regression analysis. The results of this study showed that the subjects, the cancer patients who received the chemotherapy,had high perceptions of illness severity, depression, hope, and uncertainty in illness (M = 83.41, SD = 4.66; M = 15.52, SD = 3.32; M = 44.2, SD = 4.01; and M = 159.52, SD = 5.05 respectively). In addition, they had very high social support (M = 73.74 SD = 6.61). The significant predictors of uncertainty in illness among cancer patients undergoing chemotherapy were perceptions of illness severity, depression, and social support. These predictors could explain 18.6 % of variance in uncertainty in illness among cancer patients undergoing chemotherapy (R 2 = .186, p< .05). These findings suggest that cancer patients undergoing chemotherapy still perceive their illness at high severity, and experience high depression and uncertainty. Thus, to illuminate their uncertainty, professional nurses have to develop nursing care and also to promote them to receive sufficient social support that will help to decrease their high perception of the illness, and to relieve or eliminate the depression and uncertainty of these patients. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การพยาบาลผู้ใหญ่ |
|
dc.degree.name |
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|