DSpace Repository

หลักธรรมาภิบาลในกระบวนการยุติธรรมของคณะสงฆ์ในจังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัสนันท์ พ่วงเถื่อน
dc.contributor.author เสาร์คำ ใส่แก้ว
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:23Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:23Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9975
dc.description วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการปฏิบัติหน้าที่ตามหลักธรรมาภิบาลในกระบวนการยุติธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดชลบุรี 2. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์จังหวัดชลบุรี 3. เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาตามหลักธรรมาภิบาล สำหรับการปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรมคณะสงฆ์จังหวัดชลบุรีการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ เจ้าคณะปกครอง พระวินยาธิการ และฆราวาส จากนั้นวิเคราะห์ของมูลแบบสามเส้าและนำเสนอด้วยการพรรณนา บรรยาย ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการยุติธรรมของคณะสงฆ์จังหวัดชลบุรีด้านนิติธรรมได้ดำเนินการ และลงโทษตามพระธรรมวินัย กฎหมายคณะสงฆ์ และกฎหมายบ้านเมือง ด้านการมีส่วนร่วม มีการร่วมกันลงพื้นที่กับเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งมีการส่งตัวผู้กระทำความผิดให้แก่เจ้าหน้าที่ดำเนินคดีด้านความรับผิดชอบ การลงพื้นที่เน้นการเจรจาพูดคุยเกลี้ยกล่อม และการลงโทษจะมีการบันทึกสำนวนคดี และเซ็นรับรองจากผู้ที่เกี่ยวข้อง ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติงานพบว่า มีความสับสนเรื่องการตีความโทษโลกวัชชะ ทั้งคณะสงฆ์และเจ้าหน้าที่ภาครัฐการประสานงานมีลักษณะเป็นระบบอุปถัมภ์ ซึ่งการประสานงานจะมีเพียงเฉพาะกลุ่ม เกิดกระแสสังคมด้านลบต่อการทำงาน รวมทั้งเกิดความอึดอัดในการปฏิบัติงาน แนวทางการแก้ไขปัญหา หลักนิติธรรม เสนอให้มีการกระจายอำนาจ โดยแยกระบบงานยุติธรรมออกจากงานปกครอง หลักการมีส่วนร่วม เสนอให้มีการอบรมร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐกับพระวินยาธิการ หลักความรับผิดชอบ เสนอให้พระวินยาธิการควรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนในพื้นที่มีความชำนาญด้านการสื่อสาร เพื่อช่วยในการประสานงาน
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject สงฆ์ -- กฎและการปฏิบัติ
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
dc.subject ธรรมรัฐ -- ไทย -- ชลบุรี
dc.title หลักธรรมาภิบาลในกระบวนการยุติธรรมของคณะสงฆ์ในจังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative Good governnce in the sngk's justice process in chonburi province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this study is to study the performance of Chonburi Province Sangka justice process and to propose better solutions to the problems. This study is the qualitative research using indepth interview from key informants – the high-rank monks, the police monks (Phra Vinayathikan) and seculars, and then analysed in methodological triangulation and finally presented in descriptive and inductive analysis. The result shows that the justice process is carried out according to the doctrine and discipline of Dhamma-Vinaya (Law of the Sangka) and the national law. There’s the coordination with the government officers in arresting and sending offenders after the religious punishment. In the fieldwork, it is focused on persuasion and negation. The punishment is recorded and signed by those involved. The problem found in this study is the confusion in interpretation of worldly fault (Lokavajja). Moreover, the coordination seems to depend on the patronage system which may lead to negative social opinion and embarrassing work. The solation for these problems is that the justice system should be decentralized and have clear-cut in duty between the justice system and the administrative work. In the participation, it is suggested to offer bilateral training between the government officials and Phra Vinayathikan (Police monks). As for the responsibility, the police monks are expected to have good interaction with the people in the community and be skilled with good communication in order to make a good move.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารงานยุติธรรมและสังคม
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account