DSpace Repository

คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี

Show simple item record

dc.contributor.advisor เอกวิทย์ มณีธร
dc.contributor.author นิธิภัทร ชิตานนท์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:36:22Z
dc.date.available 2023-09-18T07:36:22Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9972
dc.description งานนิพนธ์(รม)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผุ้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีและเพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพการสมรส แตกต่างกัน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี ได้แก่ หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 บางส่วน มีจำนวน 850 คน ใช้สูตรการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างของยามาเน่ ได้จำนวน 272 คน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่าง แบบเจาะจง โดยการลงพื้นที่ตามวาระการประชุม ประจำเดือนของผู้สูงอายุและลงพื้นที่ตามหมู่บ้านเพื่อให้เก็บข้อมูลให้ครบ เลือกเก็บแบบสอบถามกับผู้สูงอายุในพื้นที่การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติโดยใช้สถิติดังต่อไปนี้ มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาดังนี้ 1. วิเคราะห์ลักษณะกลุ่มตัวอย่างที่ทำการสำรวจ โดยใช้สถิติเชิงพรรณาในการวิเคราะห์โดยจำแนกกลุ่มตัวอย่าง คือ เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพการสมรส ด้วยสถิติความถี่และค่าร้อยละ 2. วิเคราะห์คุณภาพชีวิตของผุ้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีข้อมูลโดยใช้การคำนวณค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 3. ทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน คือ ใช้การแจกแจงแบบ t-Test สำหรับการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) สำหรับการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไป หากพบว่ามีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการทดสอบรายคู่เพื่อหาความแตกต่างด้วยวิธีของ LSD (Least Significant Difference test) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการศึกษาพบว่า ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 66 - 70 ปีจบการศึกษาระดับชั้นประถม ศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย ไม่ได้ประกอบอาชีพ มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำ 5,000 บาท และมีสถานภาพสมรส ผลการวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวแปรที่ศึกษา คุณภาพชีวิตของผุ้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสภาพสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับมาก
dc.language.iso th
dc.publisher คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม
dc.subject ผู้สูงอายุ -- คุณภาพชีวิต -- ไทย -- ชลบุรี
dc.title คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
dc.title.alternative The qulity of life elder in smed municiplity, mung chonburi distrct, chonburiprovince
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objective of this research is to study and compare elderly people’s quality of life multi-level assessment residing atSamaed Municipality, Muang District, Chonburi Province. Individual factors are differently categorized by sex, age, education level, income per month, marital status. This is a quantitative research used a questionnaire for collecting sampling groups data. The sampling groups are elderly people living at Samaed Municipality, Muang District, Chonburi Province (e.g. Moo1, Moo2, and partly of Moo3) with the total of 850 people. The calculation formula of Taro Yamane is used with the result of random with specific groups of 272 people. The field trip study is conducted in accordance with monthly meeting of elderly people, as well as visit some villages for collecting questionnaire data in specific areas. Based on the objective of the study, data analysis involves statistical methods as follows. Firstly, sampling groups analysis includes survey with descriptive statistics with a sample of a population categorized by sex, age, education, profession, income per month and marital status through frequency and percentage. Secondly, the quality of elderly people’s life analysis is examined through the calculation of means deviation. Thirdly, the assumption test uses deductive statistics with t-test, means average between two groups or more, and one-way ANOVA. The statistical significance with the least significant difference test (LSD) is .05. In this research, a finding is that the majority of respondents are females with the age ranging from 66 to 70 years. These groups finish their education level at Grade 3 or Grade 6 with no permanent jobs. The income average is lower than 5,000 baht per month with marital status. The analysis of variable studies is elderly people’s quality of life living at Samaed Municipality, Muang District, Chonburi Province. These are physical, mental, social, and environmental conditions. These conditions have direct impact in the high level.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การบริหารงานยุติธรรมและสังคม
dc.degree.name รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account