dc.contributor.advisor |
ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ |
|
dc.contributor.advisor |
นันทพร ภัทรพุทธ |
|
dc.contributor.author |
กนกวรรณ วรปัญญา |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะสาธารณสุขศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:32:14Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:32:14Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9930 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง 1 กลุ่ม วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาด ศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาด และเพื่อเปรียบเทียบระดับพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานทำความสะอาดก่อน และหลังการนำโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัย ใช้เวลาดำเนินการ 4 สัปดาห์ประกอบด้วยขั้นตอน 1) การค้นหาพฤติกรรมที่ไม่ปลอดภัย 2) การสังเกตพฤติกรรมเป้าหมาย 3) ส่งเสริมปรับปรุงพฤติกรรม 4) วัดผลการส่งเสริมและปรับปรุงพฤติกรรมเก็บข้อมูล ด้วยแบบวัดพฤติกรรมภายนอกเพื่อสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยด้วยแบบสังเกตพฤติกรรม และแบบวัดพฤติกรรมภายใน ประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 53.44 ปี (SD = 9.125) ส่วนใหญ่จบระดับการศึกษาต่ำกว่าระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 80.0 ปฏิบัติงานอยู่แผนกดูแลผู้ป่วยใน (IPD) ร้อยละ 56.0 รองลงมาคือ ปฏิบัติงานอยู่แผนกอื่นๆ ร้อยละ 32.0 ส่วนใหญ่ปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา 1-5 ปี ร้อยละ 64.0 ระยะเวลาการปฏิบัติงานเฉลี่ย 6.16 ปี (SD = 7.180) ระยะเวลาการปฏิบัติงานต่ำสุด 1 ปี ระยะเวลาการปฏิบัติงานสูงสุด 30 ปี ไม่เคยเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ร้อยละ 84.0 และเคยได้รับการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงาน ร้อยละ 64.0 จากการสังเกตพฤติกรรมความปลอดภัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเปอร์เซ็นต์แนวโน้มพฤติกรรมเป้าหมาย โดยรวมดีขึ้น พนักงานทำความสะอาดสามารถปฏิบัติตามพฤติกรรมเป้าหมายครบ 100% ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 เป็นต้นไป และยังคงปฏิบัติตามพฤติกรรมเป้าหมายได้ครบ 100 % จนถึงสัปดาห์ที่ 4 ก่อนการวิจัยกลุ่มตัวอย่างส่วนมากมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมความปลอดภัยในภาพรวมซึ่งประกอบด้วยพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเพื่อความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาดก่อนทดลองเท่ากับ 154.52 หลังทดลองเท่ากับ 163.20 เปรียบเทียบความแตกต่างพฤติกรรมความปลอดภัยในภาพรวมระหว่างก่อนทดลองและหลังทดลอง พบว่า ค่าเฉลี่ยพฤติกรรมความปลอดภัยในภาพรวมก่อนและหลังทดลองมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p< 0.001) ผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่า โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยสามารถช่วยพัฒนาพฤติกรรมความปลอดภัยของพนักงานทำงานสะอาดได้ |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
พนักงานทำความสะอาด |
|
dc.subject |
พนักงานทำความสะอาด -- มาตรการความปลอดภัย |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
|
dc.title |
ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อความปลอดภัยที่มีต่อพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพนักงานทำความสะอาดในโรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่งของจังหวัดปทุมธานี |
|
dc.title.alternative |
Effect of behvior bsed sfety (bbs) progrm on sfety t work behviors mong clening personl in tertiry hospitl, pthumthni province |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The main objective of this one group quasi-experimental study was to study the
effectiveness of Behavior Based Safety (BBS) Program on safety behaviors at work of cleaning
personnel, study the safety behaviors at work of cleaning personnel and compare safety behaviors
levels of cleansing personnel before and after implementation Behavior Based Safety (BBS)
Program. The BBS program used 4 weeks for 4 processes including 1) finding unsafe behaviors
2)behavior observation 3) promote behavior improvement by positive reinforcement 4) measure
the promotion and improvement of behavior. Data were collected by the overt behavioral
observation forms on safety behavior and the covert-behavioral measures including
questionnaires about general information and safety behavior at work.
The research results revealed that all of the sampling were female (100.0%), the
sampling had an average age of 53.44 years old (SD = 9.125), the majority of the sampling had
finished lower secondary education (80.0%), work at In Patient Department (IPD) (56.0%), Out
Patient Department (OPD) and others (32%). Working experience ranged from 1-5 years (64.0%),
with an average of 6.16 years (SD 7.180), the lowest work experience was 1 year and the highest
work experience was 30 years, with no history of occupational injury or accidents (84.0%) and
had received safety training (64.0%). According to the observations, the sampling showed a 100
percent safety behaviors in the 2nd weeks, and remained 100 percent until 4th weeks. Before
implementation of BBS program, majority of the sampling had an average score of overall safety
behavior, including the behavior of using PPE and compliance with cleaning personnel’s work
safety regulations at 154.52 before the experiment and 163.20 after the experiment. When
compare the safety behaviors before and after the experiment, the study found that the average scores of safety behavior after the experiment was significantly higher than the average scores
before the experiment at 0.01 (p<0.001). Based on the results of this study, BBS program could
improve safety behaviors among cleaning personal |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
อาชีวอนามัยและความปลอดภัย |
|
dc.degree.name |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|