dc.contributor.advisor |
พงศ์เทพ จิระโร |
|
dc.contributor.advisor |
ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์ |
|
dc.contributor.author |
พิรุฬห์พร แสนแพง |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:32:09Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:32:09Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9911 |
|
dc.description |
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และเพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบคุณภาพการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษา นอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การศึกษาสภาพการพัฒนาตนเอง ด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จำนวน 819 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลองค์ประกอบเชิงยืนยัน 2) ตรวจสอบองค์ประกอบของรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 17 คน และ 3) นำรูปแบบไปทดลองใช้กับ กศน. 3 แห่ง ที่เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบวัดความรู้ และสนทนากลุ่ม วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 596 คน คิดเป็นร้อยละ 72.80 และครูส่วนใหญ่มีอายุอยู่ในช่วง 31-40 ปี จำนวน 341 คน คิดเป็นร้อยละ 41.60 เกินครึ่งรับราชการ จำนวน 632 ราย คิดเป็นร้อยละ 77.20 ส่วนใหญ่มีประสบการณ์ด้านการสอนอยู่ระหว่าง 6-10 ปี จำนวน 300 คน คิดเป็นร้อยละ 36.60 ส่วนใหญ่เป็นครู กศน. จังหวัดชลบุรี กศน. จังหวัดกาญจนบุรี และ กศน. จังหวัดเชียงใหม่ คิดเป็นร้อยละ 13.40,13.20 และ 12.30 ตามลำดับ รูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีลักษณะเป็นแผนภูมิโครงสร้างกระบวนดำเนินการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต โดยองค์ประกอบในการพัฒนาตนเองของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การสร้างค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน การมีเป้าหมายร่วมกันคือ การเรียนรู้ของนักเรียน การร่วมมือ รวมพลัง การรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญและศึกษาดูงาน และ การสนทนาที่มุ่งสะท้อนการปฏิบัติงาน
ผลการทดลองใช้พบว่า ครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเกิดการเปลี่ยนแปลงในตนเอง ร่วมมือในการทำงานกันมากขึ้น มีการกระตุ้นให้มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยรูปแบบสามารถนำไปใช้ได้จริงใน กศน. ตามเกณฑ์การประเมินด้านประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสมและความถูกต้อง |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.subject |
การพัฒนาตนเอง |
|
dc.subject |
ทักษะการเรียน |
|
dc.title |
การพัฒนารูปแบบการพัฒนาตนเองด้วยกระบวนการ PLC ของครูศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย |
|
dc.title.alternative |
The development of self-development model with the process of plc for techer in non forml eduction |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The objectives of this research were to study the circumstances of self-development by PLC process of teachers in the non-formal and informal education center in order to create, inspect, examine and evaluate the quality of the self-development model by the PLC process for teachers of the non-formal and informal education center by conducting a research in 3 steps as follows;
1. Studying the condition of self-development by PLC process with 819 teachers in the non-formal and informal education centers and analyzing data of confirmatory factor.
2. Inspecting the composition of the model by 17 experts.
3. Implementing the model in three places of voluntary non-formal Education Centers. Data were collected by questionnaire and group discussion and analyzed for the average Standard deviation, Quartile range and qualitative data and content analysis.
The results showed that the condition of self-development by PLC process of teachers in non-formal and informal education centers, most of the samples were 596 female teachers or 72.80%. Most teachers’ age was in the range of 31-40 years in a total of 341 persons or 41.60%. 632 teachers or 77.20% were civil servants which contained more than half of the samples. Three hundred teachers or 36.60% had teaching experience between 6-10 years. The percentage of teachers from non-formal education centers in Chon Buri, Kanchanaburi and Chiang Mai provinces were 13.40,13.20 and 12.30 percent respectively. Self-development model by the PLC process for teachers in the non-formal and informal education center had a chart structure of the process of self-development by PLC process consisted of 3 components, namely; inputs, processes and outputs. There were 5 components 1) Shared values and norms, 2) Collective focus on student learning, 3) Collaboration, 4) Expert advice and study visit and 5) Reflection dialogue.
Based on the findings of this investigation, It was concluded that the teachers of the non-formal and informal education center tended to make a change among themselves in terms of collaborating on work and encouraged for continuous work. The format could be put into practice in non-formal education accordingly to the benefit assessment, possibility, suitability and accuracy criteria. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาเอก |
|
dc.degree.discipline |
วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา |
|
dc.degree.name |
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|