DSpace Repository

การพัฒนาเทคนิคแบบไม่ทำลายตัวอย่างสำหรับตรวจสอบและจำแนกไข่มุกและอัญมณีเลียนแบบไข่มุกโดยใช้แสงในช่วงอินฟราเรด วิสิเบิล และอัลตราไวโอเล็ต

Show simple item record

dc.contributor.author พิมพ์ทอง ทองนพคุณ th
dc.contributor.author สนอง เอกสิทธิ์ th
dc.contributor.author อรุณี เทอดเทพพิทักษ์ th
dc.contributor.author ทวีศักดิ์ จันทร์ดวง th
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี. คณะอัญมณี
dc.date.accessioned 2019-03-25T08:54:57Z
dc.date.available 2019-03-25T08:54:57Z
dc.date.issued 2551
dc.identifier.uri http://dspace.lib.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/990
dc.description.abstract ไข่มุกเป็นหนึ่งในอัญมณีอินทรีย์ที่ได้รับความนิยม เนื่องจากความวาว ความสวยงาม และเหลือบสีรุ้งของผิวบุก เนื่องจากสีมีผลต่อราคาของไข่มุกทำให้มีการปรับปรุงสีของไข่มุกให้มีความหลาหลายด้วยวิธีทางธรรมชาติและการปรุงแต่งภายหลังด้วยวิธีทางเคมี และจากการกำเนิดไข่มุกธรรมชาติที่จะต้องใช้เวลานาน จึงมีการผลิตไข่มุกปลอมมาจำหน่ายในตลาดอัญมณีจำนวนมาก งานวิจัยนี้นำเสนอการย้อมสีไข่มุกให้ได้สีดำ ไข่มุกน้ำจืดสีขาวถูกนำมาย้อมสีด้วยสารละลายวิลเวอร์ไนเตรทในแอมโมเนียไฮดรอกไซด์ ความเข้มของสีที่ได้หลังย้อมขึ้นอยู่กับความเข้มข้นของสารละลายไนเตรท ระยะเวลาในการย้อม และลักษณะพื้นผิวของไข่มุก การวิเคราะห์ความแตกต่างของไข่มุกธรรมชาติ ไข่มุกย้อมสี และไข่มุกปลอมด้วยเทคนิคสเปกโทรสโกปีเชิงโมเลกุล ได้แก่ ยูวีวิวิเบิลสเปกโทรสโกปี อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี และรามานสเปกโทรสโกปี สามารถจำแนกไข่มุกธรรมชาติจากไข่มุกย้อมสีและไข่มุกปลอมได้ ยูวีวิวิเบิลสเปกตรัมของไข่มุกจะมีแถบการดูดกลืนแสงสูงสุดที่ตำแหน่ง 315 nm เหมือนกัน ซึ่งต่างจากสเปกตรัมของไข่มุกปลอมอย่างขัดเจน การตรวจวิเคราะห์ด้วยอินฟาเรดสเปกโทรสโกปี โดยใช้เทคนิคเอทีอาร์ประสบความสำเร็จในการนำมาวิเคราะห์ไข่มุกเนื่องจากเป็นเทคนิคที่ไม่ทำลายตัวอย่าง อย่างไรก็ตามเทคนิคการเตรียมตัวอย่างในการวิเคราะห์ด้วยอินฟราเรดสเปกโทรสโกปีทุกเทคนิคไม่สามารถ จำแนกความแตกต่างระหว่างไข่มุกธรรมชาติและไข่มุกที่ย้อมด้วยสารละลายซิลเวอร์ไนเตรท เนื่องจากไข่มุกทั้งสองชนิดแสดงแถบดูดกลืนที่เหมือนกันคือ มีพีคการดูดกลืนที่ตำแหน่ง 841, 1083, 1461 และ 1441 cm-1 ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของแคลเซียมคาร์บอเนตที่มีโครงสร้างอะราโกไนท์ แต่สามารถจำแนกไข่มุกปลอม และไข่มุกย้อมสีชนิดอื่น ๆ ได้ ในขณะที่รามานสเปกโทรสโกปีสามารถจำแนกความแตกต่างระหว่างไข่มุกย้อมสีดำด้วยสารละลายซิลเวอร์ไนเตรทได้จากพีคการดูดกลืนที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนที่ตำแหน่ง 570 cm-1 ซึ่งเป็นพีคที่สัมพันธ์กับ Ag-O ที่เกิดจากออกไซด์ของเงินที่ผิวของไข่มุกที่ผ่านการย้อมชนิดนี้ และมีแนวโน้มที่จะสามารถจำแนกไข่มุกน้ำเค็มและน้ำจืดได้เนื่องจากรามานสเปกตรัมของตัวอย่างไข่มุกน้ำเค้มส่วนใหญ่ที่นำมาวิเคราะห์จะเกิดฟลูออเรสเซนต์ th_TH
dc.description.sponsorship โครงการวิจัยได้รับทุนอุดหนุนจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2551 (โครงการต่อเนื่อง : ปีที่ 1) en
dc.language.iso th th_TH
dc.publisher คณะอัญมณี มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตจันทบุรี th_TH
dc.subject การวิเคราะห์สเป็กตรัม th_TH
dc.subject รามานสเปกโทรสโกปี th_TH
dc.subject สาขาวิทยาศาสตร์เคมีและเภสัช th_TH
dc.subject อัญมณี - - การวิเคราะห์ th_TH
dc.subject ไข่มุก - - การจำแนก th_TH
dc.title การพัฒนาเทคนิคแบบไม่ทำลายตัวอย่างสำหรับตรวจสอบและจำแนกไข่มุกและอัญมณีเลียนแบบไข่มุกโดยใช้แสงในช่วงอินฟราเรด วิสิเบิล และอัลตราไวโอเล็ต th_TH
dc.title.alternative Development of nondestructive characterization techniques for differentiation between pearl and imitation pearl using infrared, visible and ultraviolet radiations th_TH
dc.type Research th_TH
dc.year 2551


Files in this item

Files Size Format View

There are no files associated with this item.

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account