dc.contributor.advisor |
เวชฤทธิ์ อังกนะภัทรขจร |
|
dc.contributor.advisor |
พรรณทิพา ตันตินัย |
|
dc.contributor.author |
ธันยกานต์ ชีแก้ว |
|
dc.contributor.other |
มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์ |
|
dc.date.accessioned |
2023-09-18T07:32:06Z |
|
dc.date.available |
2023-09-18T07:32:06Z |
|
dc.date.issued |
2563 |
|
dc.identifier.uri |
https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9894 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563 |
|
dc.description.abstract |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหา
และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับ
การจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับเทคนิคคู่คิดกับเกณฑ์ร้อยละ 70 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
โรงเรียนบ้านสวนอุดมวิทยา จำนวน 31 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้
ในการทำวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับเทคนิค
คู่คิด จำนวน 6 แผน 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถ
ในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการเขียน ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .79 3) แบบสังเกต
ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ด้านการพูด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบที แบบกลุ่มตัวอย่างเดียว
ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับเทคนิคคู่คิดสูงกว่า
เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2
ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับเทคนิคคู่คิดสูงกว่า
เกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
|
dc.language.iso |
th |
|
dc.publisher |
คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.rights |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|
dc.subject |
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา) |
|
dc.subject |
มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการสอนคณิตศาสตร์ |
|
dc.subject |
คณิตศาสตร์ -- การแก้ปัญหา |
|
dc.title |
ผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับเทคนิคคู่คิดที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 |
|
dc.title.alternative |
The effects of lerning mngement using the str strtegy nd think -pir -shre technique on mthemticl problems solving nd communiction bilities of prthomsuks ii students |
|
dc.type |
วิทยานิพนธ์/ Thesis |
|
dc.description.abstractalternative |
The purposes of this research were to compare the student’ s Mathematical
problem solving ability and to compare Mathematical communication ability of students after learning through the Star strategy and think - pair - share technique with the set criterion of
70 percent. The subjects of this study were 31 students in Prathomsuksa 2/2 in the second
semester of the 2018 academic year at Bansuan Udom Wittaya school. They were randomly
selected by using cluster random sampling. The instruments were; 6 lesson plans, Mathematical
problem solving, and writing communication ability test with the reliability of .79 and
Mathematical communication evaluation form. The data were analyzed by mean, standard
deviation and t - test for one sample. The findings were as follows:
1. The Mathematical problem solving ability of students after learning through the
Star strategy and think - pair - share technique was significantly higher than the set criterion of
70 percent at the .05 level.
2. The mathematical communication ability of students after learning through the
Star strategy and think - pair - share technique was significantly higher than the set criterion of
70 percent at the .05 level. |
|
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
|
dc.degree.discipline |
การสอนคณิตศาสตร์ |
|
dc.degree.name |
การศึกษามหาบัณฑิต |
|
dc.degree.grantor |
มหาวิทยาลัยบูรพา |
|