DSpace Repository

การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาสเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุรีพร อนุศาสนนันท์
dc.contributor.advisor ดลดาว วงศ์ธีระธรณ์
dc.contributor.author สมทรง โปปัญจมะกุล
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:32:04Z
dc.date.available 2023-09-18T07:32:04Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9880
dc.description ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนา การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ ระเบียงเศรษฐกิจ 2) พัฒนาแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเองของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ 3) พัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนา การเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็น (Needs assessment) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ จำนวน 430 คน โดย เครื่องมือรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความความต้องการจำเป็นในพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ระยะที่ 2 การทดลองใช้รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ จำนวน 60 คน โดยใช้แบบแผน การทดลองสองกลุ่มสุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Randomized control-group pretest-posttest-only design) เครื่องมือที่ใช้ทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และคู่มือครูผู้สอน เครื่องมือ เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยนี้ ได้แก่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified การวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน การทดสอบค่าที (t-test) โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และ AMOS ผลการวิจัยพบว่า 1. ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเอง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ ได้แก่ ด้านการมีความสามารถ (PNImodified = .35) ด้านการมีอำนาจ (PNImodified = .33) ด้านการมีความสัมพันธกับบุคคลอื่น (PNImodified = .33) ด้านครอบครัว (PNImodified = .32) ด้านการมีความสำคัญ (PNImodified = .31) ด้านการมีคุณความดี (PNImodified = .31) 2. การพัฒนาแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีค่าสถิติบ่งชี้คือ = 194.338, df = 108, p-value = 0.00, GFI = .952, AGFI = .924, RMSEA = .043, CFI = .967 3. รูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาส เขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนดังนี้ 1) การกำหนดจุดมุ่งหมาย (Identify instructional goals) 2) การออกแบบการเรียนการสอน (Design) 3) การทดลองการเรียนการสอน (Implementation) 4) การประเมินผล (Evaluation) โดยมี กระบวนการเรียนการสอนสำคัญ 5 ขั้นตอน คือ ขั้นนำ (Presentation) ขั้นเรียนรู้ (Learn) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Share) ขั้นสร้างความรู้ (Construction) และขั้นประเมินผล (Evaluation) ผลการใช้รูปแบบ มีดังนี้ ผู้เรียนมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการเปรียบเทียบผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนการเห็นคุณค่าในตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา -- การศึกษาและการสอน
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาวิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.subject การพัฒนาตนเอง
dc.subject วิทยานิพนธ์ปริญญาเอก
dc.title การพัฒนารูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการเห็นคุณค่าในตนเองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขยายโอกาสเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจ
dc.title.alternative A development of n instructionl model for developing self-esteem of mtthyomsuks 2studentsin eductionl opportunity expnsion schools t estern economic corridor: eec
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This study aimed to; 1) investigate the needs on developing self-esteem of Matthayomsuksa 2 students in educational opportunity expansion schools at eastearn economic corridor, 2) develop a self-esteem assessment instrument, 3) develop an instructional model for developing self-esteem for those students. This study was divided into two phases; The first phase needs assessment, pilot study was involved 430 students in educational opportunity expansion schools at eastearn economic corridor. In this phase, the needs assessment scales for developing self-esteem were administered to those participants. In the second phase, 60 students in educational opportunity expansion schools at eastearn economic corridor were purposively selected and were randomly assigned into two groups, a control and an experimental group; the experimental group was instructed by using the Lesson plan and teacher’s manuals while the other group was not. Self Esteem Scales were used to collect data in this phase. and were analyzed using percentage, mean, standard deviation, PNImodified,Confirm factor analysis, t-test, and data analysis. Results showed that; 1. The needs on developing self-esteem of Matthayomsuksa 2 students in educational opportunity expansion schools at eastearn economic corridor were, Competence (PNImodified = .35), Power (PNImodified = .33), Relationship (PNImodified = .33), Family (PNImodified = .32), Significance (PNImodified = .31), and Viture (PNImodified = .31), respectively. 2. The model of self-esteem was consistent with the empirical data with = 194.338, df = 108,P-value = 0.00,GFI = .952,AGFI = .924,RMSEA = .043,CFI = .967 3. The instructional model was consisted of four steps of instruction; Identify Instructional Goals, Design, Implementation and Evaluation. There were five processes in learning management procedure: Presentation, Learning, Sharing, Constracting and Evaluating. Results of model implementation revealed significantly higher scores of self-esteem (p < .05), significantly higher scores in experimental group than of the controlled group (p < .05).
dc.degree.level ปริญญาเอก
dc.degree.discipline วิจัย วัดผลและสถิติการศึกษา
dc.degree.name ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account