DSpace Repository

แนวทางการส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด

Show simple item record

dc.contributor.advisor วรวุฒิ เพ็งพันธ์
dc.contributor.advisor สุวิชัย โกศัยยะวัฒน์
dc.contributor.author เพ็ญนภา หาญกล้า
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. คณะศึกษาศาสตร์
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:20:15Z
dc.date.available 2023-09-18T07:20:15Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9878
dc.description วิทยานิพนธ์ (กศ.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์ การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ เชิงลึกกับบุคลากรของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด จำนวน 15 คน และใช้การสนทนากลุ่มกับผู้บริหารและครูของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด ตัวแทนผู้ปกครองผู้ใช้บริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด ตัวแทนหน่วยงานทางสังคมที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาแบบตีความและสรุปข้อมูลสำคัญ รายงานผลเป็นเชิงพรรณนาความ ผลการวิจัยพบว่า 1. คุณลักษณะองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด มีองค์ประกอบที่สำคัญ 5 ด้าน คือ 1) พลวัตการเรียนรู้ของคนในองค์กร คือ การตระหนักรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การปรับตัว และการพัฒนาองค์ความรู้ของตนเองอย่างสม่ำเสมอ 2) การปรับเปลี่ยนองค์กร คือ ปรับโครงสร้างและกลยุทธ์องค์กรให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กร 3) กาเพิ่มอำนาจบุคคลในองค์กรคือ การมอบหมายงานให้เหมาะกับแต่ละคน ให้อำนาจในการตัดสินใจในงาน และการให้กำลังใจเสริมแรงทางบวก 4) การจัดการความรู้ในองค์กร คือ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บความรู้ และการถ่ายโอนและใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์ในการพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคม และ 5) การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของคนในองค์กร คือ การใช้เทคโนโลยีเพื่อการติดต่อสื่อสารในองค์กร เพื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ความรู้ และเพื่อการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ 2. แนวทางการส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด สามารถสรุปตามบทบาทหน้าที่ของผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ บทบาทของครูที่ต้องตระหนักในการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคม บทบาทของผู้บริหารในการจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมอย่างเป็นระบบ และบทบาทของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อสนับสนุนองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคม
dc.language.iso th
dc.publisher คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.subject ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด
dc.subject การศึกษาพิเศษ
dc.title แนวทางการส่งเสริมองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อสังคมของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดตราด
dc.title.alternative Guidelines for promoting socil lerning orgniztion of the specil eduction center in trt province
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative This research aimed to study the characteristics of the social learning organization of the special education center, and to study the guidelines for promoting social learning organizations of Trat Special Education Center by using a qualitative research method, collecting data through in-depth interviews with 15 personnel of the Special Education Center in Trat Province, as well as using focus group discussions with the administrators and teachers of Trat Special Education Center, parents' representatives, users of Trat Special Education Center, and representatives of relevant social organizations. The data were analyzed by means of content analysis, interpretation, and summarizing important information by descriptive writing. The results of the research were as follows: 1. The characteristics of the social learning organization of the Special Education Center in Trat province had 5 important components. They were; 1) the learning dynamics of the people in the organization, namely the awareness, exchange of knowledge, adjustment, and the development of one's own knowledge on a regular basis, 2) the organizational change to adjust the organizational structure and strategy to suit the organizational culture, 3) empowering individuals in the organization by assigning jobs that suit each person, empowering job decisions and encouraging positive reinforcement, 4) knowledge management in an organization by the pursuit of knowledge, knowledge creation, and to store knowledge and transfer and used knowledge to be useful in developing into a learning organization for society and, 5) the application of technology in the organization was the use of technology for communication in the organization to publicize, disseminate knowledge, and for teaching and learning that were suitable for students with special needs. 2. Guidelines for promoting social learning organizations of the Special Education Center in Trat Province, summarize according to the roles and responsibilities of those involved, such as the role of teachers that must aware of self-development to be suitable for the organization of social learning, the role of administrators in systematic organization of learning management and the role of relevant agencies to support social learning organizations
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การศึกษาและการพัฒนาสังคม
dc.degree.name การศึกษามหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account