DSpace Repository

การพัฒนามาตรวัดภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภัทราวดี มากมี
dc.contributor.author วธัญญา วรสายัณห์
dc.contributor.other มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา
dc.date.accessioned 2023-09-18T07:20:03Z
dc.date.available 2023-09-18T07:20:03Z
dc.date.issued 2563
dc.identifier.uri https://buuir.buu.ac.th/xmlui/handle/1234567890/9845
dc.description วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--มหาวิทยาลัยบูรพา, 2563
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนองค์ประกอบภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในกลุ่มเพศและในกลุ่มจังหวัด และเพื่อสร้างปกติวิสัย มาตรวัดภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกในรูปตารางตำแหน่ง เปอร์เซ็นไทล์และคะแนนทีปกติกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 1,200 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันลำดับสองและมีการวิเคราะห์กลุ่มพหุด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) มาตรวัดภาวะพฤฒพลัง ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ สุขภาพ การมีส่วนร่วม การมีหลักประกัน และสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวย มีข้อคำถามทั้งหมด 41 ข้อ มีความตรงเชิงเนื้อหารายข้อมากกว่า .780 ทุกข้อ ค่าดัชนีอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง .309 ถึง .693 ค่าความเที่ยงทั้งฉบับ เท่ากับ .972 ความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจาก relative chi-square = 1.716, SRMR = .019, RMSEA = .024, CFI = .995, TLI = .991 2) การตรวจสอบความไม่แปรเปลี่ยนองค์ประกอบของมาตรวัดภาวะพฤฒพลัง ปรากฎว่า มีความแปรเปลี่ยนองค์ประกอบในกลุ่มเพศและในกลุ่มจังหวัด 3) ปกติวิสัยมาตรวัดภาวะพฤฒพลังจำแนกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับสูงมีเปอร์เซ็นไทล์มากกว่า 50 และระดับต่ำมีเปอร์เซ็นไทล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 สรุปได้ว่า มาตรวัดภาวะพฤฒพลังมีคุณภาพตามเกณฑ์ที่พัฒนาขึ้น และมีความแปรเปลี่ยนองค์ประกอบในกลุ่มเพศและในกลุ่มจังหวัด
dc.language.iso th
dc.publisher วิทยาลัยวิทยาการวิจัยและวิทยาการปัญญา มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.rights มหาวิทยาลัยบูรพา
dc.subject มหาวิทยาลัยบูรพา -- สาขาวิชาการวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดูแล
dc.subject ผู้สูงอายุ -- การดำเนินชีวิต
dc.title การพัฒนามาตรวัดภาวะพฤฒพลังในผู้สูงอายุตอนต้นเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก : การวิเคราะห์กลุ่มพหุ
dc.title.alternative Development of n ctive geing scle mong the elderly in the estern specil development zone: multiple group nlysis
dc.type วิทยานิพนธ์/ Thesis
dc.description.abstractalternative The objectives of this study were: to develop an active ageing scale among the elderly in the eastern special development zone, to varify the component invariance in both gender groups and in provincial groups, and to construct scale norms by using percentile rank and T-scores. The samples consisted of 1,200 elderly residents in an eastern special development zone, obtained through multi-stage random sampling; second-order confirmatory factor analysis and multiple-group analysis were undertaken by application of the Mplus computer program. The research finding were: 1) The developed active ageing scale consisted of four factor: health, participation, security, and enabling environment, with a total of 41 items. All items had I-CVI over .780. Item-to-scale correlations ranged from .309 to .693, scale reliability was .972. Empirical data were found to be consistent, having relative chi-square = 1.716, SRMR = .019, RMSEA = .024, CFI = .995, TLI = .991. 2) Second-order confirmatory factor analysis showed that there was variance in gender groups, and in province groups. 3) Scale norms were constructed and divided into two levels: percentile rank higher than 50 indicated high level, and percentile rank equal to or lower than 50 indicated low level. In conclusion, that an active ageing scale was in accordance with the developed criteria and had variance of the compositional in both gender groups and in provincial groups.
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline การวิจัยและสถิติทางวิทยาการปัญญา
dc.degree.name วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.grantor มหาวิทยาลัยบูรพา


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account